การจัดการความสัมพันธ์ทางการเมืองของกองทัพที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยเชิงอุดมการณ์ในสังคมไทย ปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557

Main Article Content

ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมผ่านกรอบแนวคิดการรัฐประหารภายใต้มุมมองการจัดการความสัมพันธ์ทางการเมืองใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 พบว่า การรัฐประหารถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อการเมืองไทย ทำให้รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พิจารณาได้จากกรณีการรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทหารได้เข้ามายึดอำนาจโดยไม่ได้มีเจตนาเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความตึงเครียดจากความขัดแย้งในสังคม โดยได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพระราชทาน เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศแทนคณะรัฐประหารของตน แต่ยังคงควบคุมรัฐบาลอยู่ในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ได้กำหนดให้มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จัดให้มีการลงประชามติ และจัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป สำหรับกรณีการรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2557 ทหารได้รับบทเรียนของการยึดอำนาจจากครั้งที่ผ่านมาในประเด็นการควบคุมกลุ่มมวลชนอุดมการณ์ที่ผิดพลาด จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทหารจำเป็นต้องเถลิงอำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้นมา โดยมีมุมมองว่า การปฏิรูปการเมืองจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีการจัดการความสัมพันธ์ทางการเมืองใหม่เสียก่อน ซึ่งทหารได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จัดให้มีการลงประชามติ และจัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง นอกจากนี้ รัฐบาลทหารยังมีอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) มาตรา 44 เป็นเครื่องมือในการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการเมือง สรุปได้ว่า การรัฐประหารทั้งสองครั้งดังที่ปรากฏ มีที่มาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มมวลชน ซึ่งได้นำไปสู่พัฒนาการทางประชาธิปไตยที่ถดถอยลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของมวลชนกลุ่มต่าง ๆ เป็นการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ฉะนั้น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะต้องเป็นการจัดการของรัฐบาลพลเรือนไม่ใช่การเข้ามาแทรกแซงจากทหาร การรัฐประหารจึงถือเป็นการฉายภาพซ้ำวิถีเผด็จการอำนาจนิยมที่กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยเชิงอุดมการณ์ในสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนลา สุขพานิช และสุจิต บุญบงการ. (2529). ทหารกับการพัฒนาทางการเมืองไทย. จุลสารวิชาการทหารไทย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 3.

เกษมชาติ นเรศเสนีย์. (2538). การศึกษาเปรียบเทียบความนึกคิด อุดมการณ์ทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองของนายทหารนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 73 และ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 40. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก.

จรัล ดิษฐาอภิชัย. (2563). บันทึก ‘19 พฤษภาคม 2553’ ในสายตาจรัล ดิษฐาอภิชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.the101.world/10-years-of-the-red-shirt-crackdown/. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 มีนาคม 2564).

จิรัฐิติภัค คลังเพ็ชร์ และณัฐวุฒิ บุ้งจันทร์. (2558, กรกฎาคม). การพัฒนาทางการเมืองกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ.2549-2556). วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(ฉบับพิเศษ), 131.

ไชยะ เทพา. (2559). การรัฐประหารในการเมืองไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขาวิชาการเมือง.

ทวี แจ่มจำรัส, ฤๅเดช เกิดวิชัย และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). บทบาทของนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 32-44.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2564, มกราคม-กุมภาพันธ์). ตัดวงจรรัฐประหาร. Journal of Modern Learning Developmen, 6(1), 116-117.

นิฐิณี ทองแท้. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). สถาบันพระมหากษัตริย์กับกระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหาร. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(2), 45-46.

ประภาพร สีหา. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความขัดแย้งทางการเมืองกับการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 148-158.

ภัทรมน เพ็งส้ม, สุรพล ราชภัณฑารักษ์, เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2562, กรกฎาคม-กันยายน). พัฒนาการของกลุ่มทุนการสื่อสารในระบบพรรคการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 ถึงรัฐประหาร 2557. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(3), 315.

ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. (2558). ทหาร การเมือง และประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ทำความเข้าใจผ่านแนวคิดการควบคุมทหารโดยพลเรือน. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มติชนออนไลน์. (2563). เกิดอะไรขึ้นบ้างก่อน-หลัง “รัฐประหาร 19 ก.ย.49” จากปรากฎการณ์ไล่ทักษิณถึง ผลไม้พิษ คมช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichonweekly.com/scoop/article_230466. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 มีนาคม 2564).

ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2563, มกราคม-เมษายน). การปฏิรูปกองทัพไทย: แนวทางการสร้างระบบทหารอาชีพกับการลดบทบาทของกองทัพภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาลพลเรือน. วารสารบริหารรัฐกิจ, 4(1), 95-105.

ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การรัฐประหารกับ “องค์อธิปัตย์” ในสังคมการเมืองไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(2), 311-312.

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ และชัญญาพัทธ์ วิพัฒนานันทกุล. (2559, สิงหาคม). ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยสหรัฐอเมริกากับปรัชญาและ “หัวใจ” ของการผลิตทหารอาชีพ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 3(1), 171-192.

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. (2561, สิงหาคม). การออกแบบระบบการศึกษาทางทหารของไทยใหม่เพื่อการผลิตทหารอาชีพและการปฏิรูปกองทัพ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 5(1), 39-66.

สราธร บุญสิทธิ์ และพีระ จิรโสภณ. (2561, มกราคม-มิถุนายน). บทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง: กรณีวิกฤตทางการเมืองช่วง พ.ศ. 2557. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 397-410.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุจิต บุญบงการ. (2543). ปัญหาพัฒนาการทางการเมืองไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุทธินันท์ สุวรรณวิจิตร และวรวิทย์ กลิ่นสุข. (2564, มีนาคม-เมษายน). ทหารกับการเมืองในประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 351-352.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2541). ทหารกับประชาธิปไตย : จาก 14 ตุลา สู่ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.

__________. (2558). เสนาธิปไตย : รัฐประหารกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

Chambers, P. & Waitoolkiat, N. (2020). Faction Politics in an Interrupted Democracy: the Case of Thailand. Journal of Current Southeast Asian Affairs, 39(1), 144-166.

Finer, S. E. (1975). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. London: Pall Mall Press, second edition.

Hobbes, T. (1651). Leviathan: or the matter, forme and power of a COMMONWEALTH ecclesiasticall and civil by THOMAS HOBBES: Edited with an introduction bymichael oakeshott. Oxford: Basil Blackwell.

Huntington, S. P. (1957). The soldier and the state: The theory and politics of civil-military relations. New York: Vintage.

Janowitz, M. (1960). The Professional Soldier: A Social and Political Portrait Glencoe. Chicago: The University of Chicago Press.

Jary, D. & Jary, J. (2005). Colilins dictionary of Sociology. Harper Collins Publish.

Nation TV. (2562). ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationtv.tv/main/content/378711109. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 มีนาคม 2564).

Rodan, G. & Jayasuriya, K. (2012). Hybrid regimes: a social foundations approach. In Jeffrey Haynes (ed.), Routledge Handbook of Democratization. London and New York: Routledge.