รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของข้าราชการ กรณีศึกษากรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์
พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของข้าราชการกรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยอาศัยแนวคิดความชื่นชอบรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมบ้านพัก โดยศึกษาและร่วมกันหารูปแบบ ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบสวน  2) รูปแบบรั้ว  3) รูปแบบถนน และ 4) รูปแบบซุ้มรอรถ และศึกษารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างแล้วนำมาสร้างรูปแบบสไตล์สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างได้ 4 สไตล์ได้แก่ 1) สไตล์ไทย  2) สไตล์คลาสสิก 3) สไตล์โมเดิร์น และ 4) สไตล์ธรรมชาตินิยม เสร็จแล้วนำรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่เขียนโมเดลมาประกอบแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ความชื่นชอบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของข้าราชการที่ได้รับสวัสดิการบ้านพักอาศัยกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณา จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการที่ได้รับสวัสดิการบ้านพักอาศัยกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  ส่วนใหญ่มีความชื่นชอบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์แต่ละรูปแบบ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อพิจารณาแยกรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างแต่ละสไตล์ พบว่า  รูปแบบสวน กลุ่มตัวอย่างมีความชื่นชอบรูปแบบสวนสไตล์ธรรมชาตินิยม อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบรั้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชื่นชอบรูปแบบรั้วสไตล์โมเดิร์น อยู่ในระดับมาก รูปแบบถนน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชื่นชอบรูปแบบโมเดิร์น อยู่ในระดับมาก และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างรูปแบบซุ้มรอรถ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชื่นชอบรูปแบบซุ้มรอรถสไตล์คลาสสิก อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิรานันท์ ยิ้มแฟน. (2565, มกราคม- เมษายน). รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของประชาชนตำบลบ้านโคก กรณีศึกษาทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 266-277.

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์, พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ และศรัณยา สุจริตกุล. (2564, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของข้าราชการ กรณีศึกษากรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(1), 21-32.

สมาคมสถาปนิกสยาม และวิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน. (2554). เศรษฐศาสตร์สำหรับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Best, John W. (1986). Research in Education. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Jencks, Charles & Kropf, Karl. (2011). Theories and manifestoes of contemporary architecture. Chichester: Wiley-Academy.

Tafuri, Manfredo. (1986.) Modern architecture. New York: Electa/Rizzoli.

Yamane, Taro. (1976). Statistics : An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.