การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชุด แก่นตะวันพืชมหัศจรรย์สารพัดประโยชน์ สำหรับเกษตรกร

Main Article Content

ปรมะ แก้วพวง

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิกฯ  2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและการใช้ประโยชน์พืชแก่นตะวัน ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้รูปแบบอินโฟกราฟิกฯ และ 3) เพื่อประเมินความสามารถในการปลูกพืชแก่นตะวันของเกษตรกร
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ไส้เมี่ยงสมุนไพร หมู่ที่ 1 ตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบ dependent sample ผลงานวิจัย พบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิกฯ ทั้ง 4 เล่ม อยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก  2) เกษตรกร ที่เรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิกฯ มีคะแนนทดสอบหลังเรียนรู้ สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เกษตรกรที่เรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิกฯ มีความสามารถในการปลูกพืชแก่นตะวัน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สีผึ้ง. (2560). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องพระอภัยมณี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.

เกวลี ล่อใจ, ณัฐกร สงคราม และกนก เลิศพานิช. (2561). การพัฒนารูปแบบสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อให้ความรู้เรื่องระบบบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการฟอกย้อมสี ในวิสาหกิจชุมชน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(1), 21-29.

คณะกรรมการหลักสูตรและคณะทำงานผลิตวิชา กรมส่งเสริมการเกษตรและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). แนวการศึกษา ชุดวิชาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา งานส่งเสริมการเกษตร หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะนักส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จงรัก เทศนา. (2558). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 เมษายน 2563).

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2559). การออกแบบข้อมูลเชิงภาพสำหรับสื่อการเรียนรู้ เรื่อง ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยพงษ์ ราศรี. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.

ปิยะวรรณ จันทร์ดํา. (2562). ผลการใช้สื่อสิ่งพิมพ์แบบอินโฟกราฟิก ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(2), 65-76.

พริมา อัครยุทธ. (2560). 5 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่กำลังมาแรงและน่าจับตามองในอนาคต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.scbeic.com/th/detail/product/1277. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 กรกฎาคม 2562).

พิชญาภัค จันทร์นิยมาธรณ์. (2559). การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของเกษตรกร ในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท.

พิมพิไร สุพัตร. (2560). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ระบบเปิดสำหรับมหาชน เรื่อง การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา.

สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล และคณะ. (2561). เยรูซาเล็มอาร์ทิโค้ชเชิงพาณิชย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2555). ตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม ADOBE PREMIEREPRO CS4. (เอกสารเผยแพร่). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). คู่มือการเขียนบทความด้วย Infographics. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

Jogloy. (2006). Study on Kaentawan (Jerusalem Artichoke) production for ethanol production. KhonKaen: KhonKaen University.