แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านการบินอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพ ความพร้อมของการปฏิบัติงานในปัจจุบันของกองการบินของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาระบบในอนาคต และพัฒนาแผนแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านการบินอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันขั้นตอนการปฏิบัติงานของกองการบิน มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดทำแผนการใช้อากาศยานที่สอดคล้องกับงบประมาณ การขออนุมัติแผนและออกหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบแผน การแต่งตั้งผู้ประสานงานการบิน และการรายงานผลการปฏิบัติการให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกองการบินผ่านช่องทางต่าง ๆ แบบผสมผสานทำให้ไม่สามารถนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลของกองการบินได้ เนื่องจากกองการบินยังไม่มีระบบสารสนเทศของตนเองที่สามารถรองรับการปฏิบัติงานตามแผนและภารกิจเหล่านี้ จากนั้นนำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์มาพัฒนาแนวทางในการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านการบินอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่า คุณสมบัติของระบบสารสนเทศที่ต้องการคือ สามารถรองรับระบบการปฏิบัติงานของกองการบินในระดับบุคคล มีระบบรักษาความปลอดภัย ความสามารถในการแก้ไขและบันทึกข้อมูลได้ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งระบบ online และ offline มีระบบการจัดการฐานข้อมูลที่สามารถรองรับข้อมูลแบบ Big data และมีระบบ Web portal สำหรับงานภูมิสารสนเทศ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กองการบิน. (2563). รายงานประจำปี 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://aviation.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKtjpQEgZKqCGWOghJstqTgcWat3pQEgZKp5GQWgG2rDqYyc4Uux. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กรกฎาคม 2565).
กองการบิน. (2565). กองการบิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://aviation.mnre.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กรกฎาคม 2565).
ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม.
ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี. (2559). Digital Transformation Strategy โมเดล 5 ด้านสู่ผลสำเร็จ. วารสาร IT Trends, 1(2), 28-31.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2558). สถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2015/08/file_4bd4ed97187349d235ecd5178e0e41c8.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กรกฎาคม 2565).
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-e-book/annual-report/82340/. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กรกฎาคม 2565).
Artamonov, I., Danilochkina, N., Pocebneva, I., and Karmokova, K. (2022). Using data integrity models for aviation industry business process quality management. Transportation Research Procedia, 63(2022), 1668-1673.
Haag, S. and Cummings, M. (2006). Management Information Systems for the Information Age. Toronto: McGraw-Hill Ryerson.
OruxMaps. (2022). Manual OruxMaps v.7.0.0. [Online]. Available from: https://www.oruxmaps.com/oruxmapsmanual_en.pdf. (accessed: 2 July 2020).
Solis, B. (2016). The six stages of digital transformation maturity. Altimeter Cognizant. Sustainability in small and medium Enterprises (SMES): A conceptual framework. Complex, Intelligent and Software Intensive Systems, 471-476.