การบริหารจัดการสร้างฐานเรียนรู้เชิงปฏิบัติการรูปแบบเกษตรผสมผสาน ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอ
พรรณี โรจนเบญจกุล
ทิพย์วารินทร์ เบ็ญจนิรัตน์
จตุพร อุ่นประเสริฐสุข
จิรวัฒน์ สุดสวาท

บทคัดย่อ

            การเกษตรเป็นอาชีพพื้นฐานของคนไทย ความรู้ทางการเกษตรมีความสำคัญ การผสมผสานวิทยาการกับภูมิปัญญาเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างฐานการเรียนรู้ทางการเกษตรให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  2) ให้ชุมชนน้อมนำองค์ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร


            ฐานการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ใช้รูปแบบการบรรยายและสาธิต จำนวน 5 ฐาน ใช้เวลาฐานละประมาณ 20-30 นาที ได้แก่ 1) ฐานความรู้เรื่องการเกษตรแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  2) ฐานการปลูกมะลิ  3) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่  4) ฐานการทำปุ๋ยไข่ และ 5) ฐานสาธิตการแปรรูปผลผลิต นักท่องเที่ยวใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยจะประเมินความต้องการของนักท่องเที่ยวก่อนนำเสนอกิจกรรม


            แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ“สวนเกษตรผสมผสานครูสมศรี” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม การเกษตรเป็นการปลูกพืชผักนานาชนิด เลี้ยงสัตว์ มีการแปรรูปทางการเกษตร ให้ความรู้เรื่องการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถบริหารจัดการโดยมีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ชมรมแม่บ้าน และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนสนับสนุน


            ความพึงพอใจในเรื่องเจ้าหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเอาใจใส่นักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การให้ความรู้และแนะนำอย่างเหมาะสม และเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/11/.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 26 กุมภาพันธ์ 2564).

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2543). รายงานสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศไทยปี 2542. กรุงเทพฯ: กองสถิติและวิจัยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.siamarchives.com. (วันที่ค้นข้อมูล: 19 เมษายน 2564).

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานจังหวัดสมุทรสงคราม. (2564). บรรยายสรุปจังหวัดสมุทรสงคราม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samutsongkhram.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 มีนาคม 2564).

เทศบาลตำบลบางนกแขวก. (2564). ข้อมูลสภาพทั่วไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bnk.go.th/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 28 กุมภาพันธ์ 2564).

นิลาวัลย์ อินทคง, สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุรินทร์ นิยมางกูร. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 83-92.

บางเดี่ยว กันทิสา และฤาเดช เกิดวิชัย. (2558). การทำการเกษตรผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านเกษตรก้าวหน้า หมู่ที่ 14 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.journal.grad.ssru.ac.th/downloads/journal/7-1/14.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 มีนาคม 2564).

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2564). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ssru.ac.th/about_vision-and-strategy.php#strategic. (วันที่ค้นข้อมูล: 26 กุมภาพันธ์ 2564).

วิจารณ์ พานิช. (2557). นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/565909. (วันที่ค้นข้อมูล: 17 กรกฎาคม 2564).

วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ, จิรวุฒิ เสมาคำ, วิทูรย์ ปัญญากุล และไชยา เพ็งอุ่น. (2555). เกษตรกรรมทางเลือก: ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (บรรณาธิการ). หนังสือประกอบงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (2564). ฐานการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงธรรมชาติศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ay-sci.go.th/aynew/main-activities/sufficiency-economy/. (วันที่ค้นข้อมูล: 26 กุมภาพันธ์ 2564).

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา.

M Sznajder, L Przezborska and F Scrimgeour. (2009). Agritourism. UK: MPG Book Group.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.