การพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์

Main Article Content

สุณัฐชา เชาว์ไว
พรรณี โรจนเบญจกุล
พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอ
จตุพร อุ่นประเสริฐสุข
ทิพย์วารินทร์ เบ็ญจนิรัตน์
ศศิเพ็ญ ครุธชั่งทอง
จิรวัฒน์ สุดสวาท
ปริญญา สีม่วง

บทคัดย่อ

         การวิจัยศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาเฟซบุ๊ก เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก เพื่อศึกษาการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบภูมิหลังส่วนบุคคลกับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ ซึ่งมีระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้เข้าชมเพจเฟซบุ๊ก จำนวน 385 คน โดย ศึกษาผลการเปรียบเทียบเฟซบุ๊กความสัมพันธ์กับความพึงพอใจรูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์แนวใหม่ ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์โดยใช้ค่าความถี่ หาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุใหม่ โดยจำแนกตาม เพศ รายได้ อายุ การศึกษาโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test และANOVA และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ โดยเข้าทำการการสัมภาษณ์ก่อน และหลังการจัดทำเพจเฟซบุ๊กของฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน


         ผลการวิจัยพบว่า จากการที่ผู้วิจัยได้จัดทำการสัมภาษณ์เพื่อจัดสร้างเฟซบุ๊กซึ่งมีความทันสมัย สามารถดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมได้จากการแสดงเฟซบุ๊ก และทำให้ผู้ร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก พบว่าผู้เข้าใช้บริการอยู่ในเฟซบุ๊กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งจากการศึกษาการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ พบว่าการแข่งขันเฟซบุ๊กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการเปรียบเทียบเปรียบเทียบภูมิหลังส่วนบุคคลกับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ พบว่า อายุ และรายได้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกานต์ ทองรัตน์. (2552). การวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพบนอินเทอร์เน็ต. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารศึกษา.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2557). Digital Marketing: Concept & Case Study. นนทบุรี: บริษัท ไอดีซีพรีเมียร์ จำกัด.

ณัฐนวียา จารุอัครพัฒน์. (2561). การตลาดแบบเนื้อหา (Content Marketing) ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Application TISCO Mobile Banking ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกระบบสารสนเทศ.

ปุณยวีร์ อิ่มแก้ว และสรวัฒน์ วิศาลาภรณ์. (2561, 8 มิถุนายน). พฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และลักษณะเฉพาะของเครือข่ายสังคมออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (น. 286-879). กรุงเทพฯ.

วิมลพรรณ อาภาเวท, สาวิตรี ชีวะสาธน์ และชาญ เดชอัศวนง. (2546, กันยายน). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. RMUTP Research Journal, 7(2), 119-130.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้ เครือข่าย Media ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley.

Noon Inch. (2021, April 1). Revealing deep insight about gamers behavior 2021, not just about games anymore (in Thai). .[Online]. Available from: https://www.everydaymarketing.co/trendinsight/deep-insight-gamers-twitter-2021-for-marketer/.

Porter, Michael E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. Free Press: New York.