การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก

Main Article Content

นคร ยศสมบัติ
ปทุมพร เปียถนอม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู ปีการศึกษา 2565 จำนวน 357 คน ได้จากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen, Manion & Morrison และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก พบว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก โดยภาพรวมและด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และสังกัดสถานศึกษา ต่างกัน ไม่พบความแตกต่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา โกสันเทียะ. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการบริหารการศึกษา.

กุลชา เที่ยงตรง. (2560). การบริหารงานวิชาการตามแนวการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาลเขตการศึกษา 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, สาขาการบริหารการศึกษา.

กฤชกร ไพคำนาม. (2565, มกราคม-เมษายน). การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1).

จิรพงศ์ ไมตรีจิตร. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุษวรรณ มลฑป. (2565, กรกฎาคม). การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(7).

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ภัทนียา ประภาสโนบล. (2560). การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและพนักงานครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญูแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรี.

มณีวรรณ แหวนหล่อ. (2562). สภาพการบริหารงานวิชาการของครูประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการบริหารการศึกษา.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

วงเดือน จําปี, รัตนา กาญจนพันธุ์ และศิริพงษ์ เศาภายน. (2565, เมษายน-มิถุนายน). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 173-186.

วิไลวรรณ วรางคณากูล. (2560). ปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณละภา โตแดง. (2565). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์.

สำราญ ทองจันทร์. (2560). บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ

เหมภัส เหลาแหลม. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อารมณ์ จินดาพันธ์. (2560). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

Cohen, L., Manion, L., and Morrison, K. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York: Morrison.

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.