การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

อภิชาต สุวรรณชื่น
สุภาพร บางใบ
ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร
จิตราทิพย์ บุญพิทักษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในถนนคนเดินไทหล่ม จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวต้องการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ได้แก่ หมอนอิง และกล่องกระดาษทิชชู และผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก/ของชำร่วย ได้แก่ ซองใส่โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าถือ โดยผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายนั้น ต้องมีสีดั้งเดิม นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 2 ประเภท อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.24) ผลการศึกษายังพบว่าสมาชิกของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว สามารถผลิตชิ้นงานและเข้าใจกระบวนการผลิตชิ้นงานทุกขั้นตอน และสามารถคำนวณกำไรต้นทุน ตั้งราคาขายสินค้า สามารถประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เพื่อจำหน่ายทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2542). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผ้าไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุตสาหกรรม

กิ่งกานต์ ปฏิบัติ, ภาคภูมิ แสนแมน และศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญา. (2561, เมษายน). การศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคสินค้าปลาหมึกแปรรูปของตลาดในเทศบาลบ้านเพ จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 12(12), 1-14.

ดวงพร ตั้งวงศ์. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา.

นฤมล วรกมล. (2562). ซิ่นหัวแดงตีนก่าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phetchabunpao.go.th/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 ตุลาคม 2563).

ปริมรัตน์ แขกเพ็ง. (2542). รายงานการศึกษาเรื่องทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผ้าไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัว, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

พรพิล เผ่าภูรี. (2546). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ผ้าไทยของนิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐใน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศษสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา.

พรลภัส พิบูลโภคาสมบัติ. (2562). หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/a/kjwit.ac.th/ponlapass/pathor/hlak-kar-xxkbaeb-phlitphanth. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2564).

พิพิธภัณฑ์ผ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร. (2551). ข้อมูลผ้าไทยภาคเหนือตอนล่าง-ผ้าเมืองเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_5/B10/C15/c15.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กุมภาพันธ์ 2564).

ภัณฑิลา ธนบูรณ์นิพัทธ์. (2564). การเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://researchcafe.tsri.or.th/southern-woven-fabric/. (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มกราคม 2564).

เยาวภา โตสงวน. (2559). ผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านไทหล่ม. เพชรบูรณ์: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์.

เยาวภา โตสงวน. (2565). ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.m-culture.in.th/album /195628/ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. (วันที่ค้นข้อมูล: 16 พฤษภาคม 2566).

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2561, กรกฎาคม-กันยายน). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อเพิ่มมูลค่าภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอาเซียน (ระยะที่ 2). OUTLOOK THAI TEXILE & FASHION, 27, 4.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองระยอง. (2563). ความเป็นมาโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://district.cdd.go.th/bansang/services. (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มกราคม 2564).

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

สิทธิชัย สมานชาติ. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2007 108 มรดกสิ่งพิมพ์. อุบลราชธานี: คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (อัดสำเนา).

สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2544). ระเบียบวิจัยทางคหกรรมศาสตรศึกษา. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.