การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การยกระดับแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม ในสังคมสูงวัยเพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น 2) สร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงยึดเหนี่ยวทางสังคมในสังคมสูงวัยเพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านแนวคิด ทฤษฎี ขั้นที่ 2 สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 3 ตรวจสอบความถูกต้องและความตรงของข้อมูลกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มด้วยประเด็นการสนทนากลุ่ม ระยะ 2 สร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ยกร่างหลักสูตรโดยสังเคราะห์ข้อมูลจากขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ตรวจสอบหลักสูตร โดยใช้การสนทนากลุ่ม ด้วยประเด็นการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัย ขั้นที่ 3 ทดลองนำร่องและใช้หลักสูตร จำนวน 2 ครั้ง ระยะ 3 ทดลองใช้ในสภาพจริงเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงยึดเหนี่ยวทางสังคมในสังคมสูงวัยเพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มี 3 ส่วนคือ 2.1) ส่วนนำ 2.2) ส่วนเนื้อหา มีขอบข่ายของเนื้อหา 4 หน่วย คือ ครอบครัวของฉัน บทบาทหน้าที่ของฉัน การดูแลสมาชิกในครอบครัว การปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ ใช้เวลา 20 ชั่วโมง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือ ข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ตและครอบครัว และการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2.3) เอกสารประกอบหลักสูตร 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงยึดเหนี่ยวทางสังคมในสังคมสูงวัยเพื่อคุณภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมฯ สูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ครอบครัวไทย. https://thailand.unfpa.org/th/ swop-launch-2021.
จงจิตต์ ฤทธิรงค์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์ และพิมลพรรณ นิตย์นรา. (2563). เปิดบ้านเด็กซี-แอลฟา การอบรมเลี้ยงดู พัฒนาการ พฤติกรรม บรรยากาศในครอบครัว. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิราภา กุลชาติ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญา กศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณิชา ทัศน์ชาญชัย และจริยา จุฑาภิสิทธิ. (2559). กิจกรรมตามวัยเพื่อส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการและการควบคุมตนเอง. https://Media-20161129093332.pdf.
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2540). ความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: พลพิมพ์.
ปัทมา มาริปุนภพ. (2547). การจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.
พูนสุข เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ลาวรรณ สกลกรุณาอารีย์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสุพรรณบุรี ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและรักความเป็นไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ดุษฎีนิพนธ์ตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
วิจิตร วิไลพรหม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ป่าชุมชนนาบอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตร). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2560). องค์ความรู้ด้านครอบครัว. http://www.km.moi. go.th/km/18_gender /gender39.pdf.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอิริคสัน (Erikson). https://sites.google.com/site/thvsdiphathnakardekpthmway/thvsdi-thi-keiywkhxng-kab-pha thnakar-dek-pthmway/thvsdi-phathnakar-thang-bukhlikphaph-khx-ngxi-rikh-san-erikson.
สุชา จันทน์เอม. (2536). พัฒนาการของมนุษย์. http:// www.educ-bkkthon.com.
สุพัตรา สุภาพ. (2541). อิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อวัยรุ่น. https:// sites. google. com/site/rubsabproduction/home/xiththiphl-khxng-khrxbkhraw-thi-mi-tx-way-run.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป.
อุดม เชยกีวงศ์. (2545). ประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
Goulart, M. & Roth, W. (2010). Engaging Young Children in Collective Curriculum Design. Cultural Studies of Science Education, 5(3), 533-562.
Paffenholz, T. (Ed.). (2010). Civil society & peace building: A critical assessment. Boulder: Lynne Rienner Publishers.