รูปแบบประดิษฐ์ท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ

Main Article Content

กิ่งแก้ว แจ้งสวัสดิ์
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
ธัญญะ พรหมศร
นงนุช บุญแจ้ง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อได้รูปแบบท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้มารับบริการสุขศาลาอโรคยาธรรมกวี วัดราชาธิวาส ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


            ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบประดิษฐ์ท่านวดมีรูปแบบทั้งหมด จำนวน 8 หมวด 30 และหลังผู้เข้ารับบริการรูปแบบนวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ มีความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับคะแนน 4.11 ซึ่งการนวดไทยมีจุดแข็ง โดยทบทวนหลักวิชาการ มีความจำเป็นต้องรู้หลักทฤษฏีเส้นประธานสิบ และกายวิภาคศาสตร์สรีระร่างกายสำคัญที่สุด จุดตำแหน่งรูปแบบท่าที่เหมาะสม ความอ่อนช้อย นุ่มนวล ละมุนละม่อม ละเอียดอ่อน มีความปราณีตในการนวดที่ใส่ใจเป็นการสัมผัสที่รับรู้ได้ทั้งลีลาท่าทางการนวด ร่วมกับสายตาการบริการด้วยใจ ระยะเวลาให้บริการ จุดอ่อนหากไม่มีความรู้จะเกิดอันตรายได้ วิธีการนวดขั้นตอนของลายละเอียดรูปแบบการให้บริการเป็นขั้นตอนหัวใจสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พลแก้ว วัชระชัยสุรพล และอัญชญา ดุจจานุทัศน์. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการนวดไทยในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 16(1), 33-43.

ลินจง โพชารี. (2560). วิจัยเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้บริการนวดแผนไทยในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 131-141.

Best, J. W. (1970). Research in education. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.