ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาสถานศึกษากลุ่ม เครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 113 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอน จำนวน 103 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 3 การพัฒนาครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.40) รองลงมา คือ ด้านที่ 4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.39) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านที่ 1 การกำหนดวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.26)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก).
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2565). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วีพรินท์ (1991).
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ Academic Leadership ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.
ณัฐชานนท์ โตนาม. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย อำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ณัฐพล ธิตา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา).
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). ภาวะผู้นำ แนวคิด ทฤษฎี เพื่อการประยุกต์ใช้ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์.
ธีรวิทย์ เมืองสุบาล. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).
เนติ์ มโนปัญญา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สาขาการบริหารการศึกษา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษยา วีรกุล. (2558). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พิชญาภา สอนสร้อยทอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 51-52.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนาเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เพชรบูรณ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). นโยบายด้านครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชิน ประสานพันธ์. (2564). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, สาขาการบริหารการศึกษา.
อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้น.
Fisher, K. (1993). Leading self-directed work teams: A guide to developing new team leadership skill. pp.123-129. New York: McGraw-Hill.