อิทธิพลของระดับคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล
ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและระดับความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตลอดจนเพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับคุณภาพชีวิตที่มีต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน จากตารางกำหนดหนดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความสุข การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยการรวบรวมแบบประเมินความสุขที่รับมาทั้งหมด นำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05


            ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ด้านความสุขของผู้สูงอายุในภาพรวม พบว่า ผู้สูงอายุ มีความสุขอยู่ในระดับน้อยกว่าคนทั่วไปตามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย ด้านการเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันผู้สูงอายุมีความสุขต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornnimit, U., Sansuk, N. S. & Rangseeprom, T. (2022). The Study of Elderly Life Happiness. Rajamangala University of Technology Tawan-ok. Social Science Journal, 11(1), 116-127.

He, L. (2023). Behavioral Training with Nursing Intervention Improves Postoperative Rehabilitation and Nutritional Status of Elderly Patients with Benign Prostatic Hyperplasia. Current Topics in Nutraceutical Research, 21(4), 478-485.

Jiang, J., Shi, X., Zhang, Y., & Wu, Y. (2023). Comprehensive Nutritional Nursing Intervention in Elderly Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Current Topics in Nutraceutical Research, 21(3), 277-283.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kwon, M. (2019). Factors Influencing Quality of Life Elderly Who Live Alone, Depending on Gender. Journal of Digital Convergence, 17(1), 365-373.

National Static Office. (2023). Statistics of the elderly. [Online]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/1.

Padmaja, G., Pande, R., & Kaur, P. (2023). Women, aging, health and quality of life: A framework for action and policy formulations. Asia Pacific Journal of Health Management, 18(2), 164-175.

Schalock, R. L. (2004). The concept of quality of life: what we know and do not know. Journal of intellectual disability research, 48(3), 203-216.

Thiratanachaiyakul, K. (2021). The influence of quality of life on happiness of elderly people in Bangkok. J Bus Adm Assoc Priv High Educ Inst Thail, 10(1), 30-48.