การศึกษาการออกเสียงเน้นหนักในคำภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กุสุมา นะสานี
พรเพ็ญ ไพศาลศุภนิมิต

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงเน้นหนักในคำภาษาอังกฤษก่อนและหลังการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง  2) ศึกษาความพึงพอใจ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบการออกเสียง 30 คำ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test


            ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีทักษะการออกเสียงเน้นหนักก่อนและหลังการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกมีค่าเท่ากับ 12.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 40.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกมีค่าเท่ากับ 22.07 คิดเป็นร้อยละ 73.57


            ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกออกเสียงอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (gif.latex?x\bar{}) เท่ากับ 4.58 พบว่าประเด็นการเรียนรู้เสียงในภาษาอังกฤษ ทำให้กล้าใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือประเด็นนักศึกษาเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองทุกครั้ง ส่วนประเด็นนักศึกษารู้สึกสนุกสนานกับการฝึกออกเสียง และรู้สึกภูมิใจที่สามารถฝึกออกเสียงได้ตามกำหนดเวลาทุกครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน


            งานวิจัยสรุปได้ว่าแชโดอิ้งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียง และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้งเป็นอย่างมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก็ก่อ พิสุทธิ์ และกัลยรัตน์ ชาวันดี. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะโฟนิกส์ออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรัชยา งิ้วสีดา, ไพสิฐ บริบูรณ์ และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้ง สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(21), 143-152.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2553). ประสิทธิภาพของการฝกแชโดอิ้งเพื่อปรับปรุงการออกเสียงคํายืมในภาษาญี่ปุน. วารสารญี่ปุนศึกษา, 27(2), 67-79.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2558). ผลการฝึกแชโดอิ้งต่อการพัฒนาทักษะการพูด:ด้านความเร็วและความถูกต้อง. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 1(1), 78-89.

ธนพร ศรีวุฒิพงศ์. (2559). การศึกษาประสิทธิผลการฝกแชโดอิ้งเพื่อพัฒนาการออกเสียงสูงต่ำของคํายืมภาษาญี่ปุนในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร, สาขาวิชาญี่ปุนศึกษา ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก.

นันทนิตย์ บุตรปาละ. (2563). การพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลยโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัมหาสารคาม, 14(1), 97-108.

บุญเลิศ วงศ์พรม. (2559). ภาษาอังกฤษเด็กไทยไม่ก้าวหน้าปัญหาอยู่ที่ใคร?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moe.go.th/moe/th/news/. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กรกฎาคม 2566).

ปัณฑิตา วีสเพ็ญ. (2552). การออกเสียงภาษาอังกฤษ (Pronunciation). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/305578. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 มิถุนายน 2566).

ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2558). ประสิทธิผลของการฝกแชโดอิ้งตอการเรียนรูเสียงสูงต่ำภาษาญี่ปุนของผูเรียนชาวไทย. วารสารญี่ปุนศึกษา, 32(1), 71-90.

ลฎาภา คิมอิ๋ง, ภัคจิรา ขัติยะ, ชลิตตาภรณ์ ดวงติ๊บ และสินีนาถ สาตร์เวช. (2565). การสอนหลักการออกเสียงเน้นหนักในคำเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10(1), 86-114.

Foote, J., & Mc Donough, K. (2017). Using Shadowing with Mobile Technology to Improve L2 Pronunciation. Journal of Second Language Pronunciation, 3(1), 33–56.

Onnicha Geeratayaporn. (2010). Word stress problems: A case study of Thai undergraduate students at Sripatum University majoring in English Business Communication. (Master’s Degree of Arts). Kasetsart University, Graduate School.

Rosyidi, Ahmad., Paris, Atika. & Masyudi, Masyudi. (2022). Student’s Perceptions on Using Shadowing Technique in Learning Speaking. International Journal of Social Science Research and Review, 5(1), 129-134.

Utami, Henny. & Morganna, Ruly. (2022). Improving Students’ English Pronunciation Competence by Using Shadowing Technique. ENGLISH FRANCA : Academic Journal of English Language and Education, 6(1), 127-150.

Yavari, F. & Shafiee, S. (2019). Effects of Shadowing and Tracking on Intermediate EFL Learners’ Oral Fluency. International Journal of Instruction, 12(1), 869-884.