การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

Jeeyaphat Kamthong
กัลยมน อินทุสุต

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2  2) เพื่อเปรียบเทียบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาตาม ความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ และวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา พ.ศ. 2566 จำนวน 357 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของ Cohen และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จํานวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ Scheffe


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า

                 2.1   ครูที่มีวุฒิการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ต่างกันโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าโดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการใช้ความช่วยเหลือครูโดยตรง และด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ไม่พบความแตกต่าง


                 2.2   ครูที่มีอายุ และวิทยฐานะที่ต่างกันมีความคิดเห็นการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ต่างกันโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าครูที่มีอายุ 30-40 ปี มีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวมมากกว่าครูที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และครูที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการมีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวมมากกว่าครูที่ไม่มีวิทยฐานะและครูชำนาญการขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา มนัส. (2556). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย สถานศึกษาที่ 13 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ชลชรัส นุกอง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 วิทยาเขตบางมูลนาก. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดวงใจ ศรไชย. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธัญพิชชา อุ่นรัมย์. (2564). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธารทิพย์ ดํายศ. (2561). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กตามการรับรู้ของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

นุชจรี จันทวาท. (2562). การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน. (2563). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอําเภอบุณฑริก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2565-2567. กรุงเทพฯ.

พชรทัดชา รุ่งเลิศนันทกุล. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดําเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รวิสรา แป้งคุณญาติ และสมกูล ถาวรกิจ. (2563). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1. วารสารสังคมศึกษา มมร, 1(1), 26-38.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). การนิเทศการสอน. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เสาวลักษณ์ บุญมาก. (2564). บทบาทของผู้บริหารกับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อธิกร ทาแกง. (2564). การศึกษาบทบาทการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา

สุทธนู ศรีไสย์. (2555). หลักการนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Beach, D.M. & Reinhartz, J. (2000). Supervision Leadership: Focus on Instruction. Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed.). New York: Routledge.

Glickman, C.D. (2007). Super Vision and Instructional Leadership : A Developmental Approach. Boston: Pearson.

Peter F. Oliva & George E. Pawlas. (2001). Supervision for today’s schools (8th ed). New York: John Wiley & Sons, 11-12.