การพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

Main Article Content

พรกนก สุวรรณรัตน์
พัชยากรณ์ พูลเกตุ
โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยหมวดสัตว์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ ระหว่างก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา


            ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีปัญหาด้านทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ มีทักษะในการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน ทำให้มีผลรวมจากทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ หลังการเรียนเพิ่มขึ้น 2.นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีปัญหาด้านทักษะการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ มีทักษะในการเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย หมวดสัตว์ หลังเรียนโดยแบบฝึกทักษะการเขียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจียมจิต ถวิล. (2550). ชุดเผยแพร่ความรู้ความผิดปกติของการสื่อความหมาย เรื่องหูตึงในเด็ก เล่ม 8. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธบดี.

ธัญสินี ฐานะ. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านทักษะกระบวนการการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ดำรงศักดิ์ มีวรรณ์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมแก้ปัญหาทางวิทยาศาตร์. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา “แนวคิดทฤษฎี” (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

วัลภา ศศิวิมล. (2531). การสร้างแบบฝึกการเขียนตัวสะกดการันต์สำหรับนักเรียนระดับปริญญาตรีปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม (วิจัยสารสนเทศ). พิษณุโลก.

วารุณี ศิริมาศ. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านใจความตามทฤษฎีสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อวิชาภาษาไทย และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน เทศบาล 4 "รัฐประชานุเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สุจิตตรา แก้วโต. (2545). ผลการใช้เกมการสะกดคำที่มีต่อความสามารถในการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการ สู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : อีเคบุ๊คส์.

สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.