ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คำสำคัญ:
ความรู้และความสามารถด้านการเงินและบัญชี, ความสามารถในการใช้โปรแกรมบัญชี, ระบบ GFMISบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ที่ 0.959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์แบบที สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และด้านประสบการณ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในการทำงาน 2) ปัจจัยทางความรู้และความสามารถด้านการเงินและบัญชี ด้านความรู้ด้านการเงินและบัญชี และด้านความสามารถในการใช้โปรแกรมบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล R2 = 0.433 , F= 55.090, Sig. = .000, Durbin-Watson = 1.551 3) ปัจจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศทางบัญชี ด้านระบบ GFMIS และด้านการประมวลข้อมูลทางบัญชี มีส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล R2 = 0.574 , F= 146.275, Sig. = .000, Durbin-Watson = 1.832 และ 4) ปัจจัยทางการสนับสนุนจากหน่วยงาน ด้านวัสดุ และด้านการบริหารจัดการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชีของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล R2 = .605 , F= 110.096, Sig. = .000, Durbin-Watson = 1.900
References
แคทรียา วันวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัญฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จิรภัทร์ มั่นคง. (2561). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการและพนักงานการเงินและบัญชีกรมการเงินทหารบกที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัญฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐม,วราพร เปรมพาณิชย์นุกูล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561
ดวงเดือน เภตรา, นภัสษร ผลาเลิศ, จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ, และนุชศรา นันโท. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินและบัญชีฝ่ายการเงิน. กองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ตุ๊กตา บุรีรัม. (2563). ผลกระทบของความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักวิชาการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564.
ประวีณา เงินทิพย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาวิชาบริหารธุกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
พัชรินทร์ ศิริทรัพย์. (2558). ผลกระทบการใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญุรี.
มณีรัตน์ ข่ายพิลาป,เนตรดาว ชัยเขต. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศด้านการเงินและบัญชีในความร่วมมือ 5 สถาบัน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 11 ฉบับที่ 3
ศิริขวัญ ผลวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินการบัญชี หน่วยงานราชการเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อาภาวรรณ สงวนหงษ์,เบญจพร โมกขะเวส. (2564). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัญฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว