ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝาก ของผู้บริโภคในตลาดแม่ทองคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, ตลาดแม่ทองคำ, จังหวัดพะเยาบทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝากของผู้บริโภคในตลาดแม่ทองคำ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อตัดสินใจซื้อของฝากในตลาดแม่ทองคำ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อของฝากในตลาดแม่ทองคำ กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลที่เคยซื้อของฝากที่ตลาดแม่ทองคำ จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test และการถดถอยพหุคูณ
ผู้ที่ซื้อของฝากส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ย 20,001-30,000 บาท ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝาก ทั้งนี้ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.95) รองลงมา ด้านสถานที่ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.29) ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16) ด้านราคา อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.14 ) ด้านกระบวนการในการให้บริการ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.08) และด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =3.48) และด้านกายภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.47) ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่เข้าสู่สมการถดถอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีสมการคือ Y การตัดสินใจซื้อ = 0.48+ 0.11 (ด้านผลิตภัณฑ์)+0.29(ด้านราคา)+0.45 (ด้านสถานที่) + 1.21 (ด้านการส่งเสริมการตลาด)+ 1.84 (ด้านบุคคล)+ 1.83 (ด้านกายภาพ)+3.25 (ด้านกระบวนการในการให้บริการ); R2 = 0.84
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวพ.ศ. 2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์VIP COPY PRINT (วีไอพี
ก็อปปี้ปริ้น)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.jpp.moi.go.th/
files/MOTS.pdf. 25 เมษายน 2561.
กิตติเชษฐ์ ปลอดทอง นิศศา ศิลปะเสรฐ เครือวัลย์ ชัชกุล.(2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจเครื่องสำอาง บริษัท สรวีย์ บิวตี้ แอนด์ สปา. การประชุมวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา.
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
กันต์กนิษฐ์ วงศ์บวรลักษณ์ ธีทัต ตรีศิริโชติ ศรายุทธ โชคชัยวรรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข.10 (2).
ณภัทร อัครปัณณกูร และณักษ์ กุลิสร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและของที่ระลึกในจังหวัดฉะเชิงเทรา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(1),หน้า 48-66.
ณัฐ อิรนพไพบูลย์. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับเหมาต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ คอนกรีตผสมเสร็จของโรงงานซีแพคแฟรนไชส์ สาขาจอมทอง. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาชาวิชาการตลาด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิธิดา พระยาลอและลาปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์อาหารในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ผลิตในจังหวัด ขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 38-51.
นันทิยา ตันตราสืบ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมของ ผู้บริโภคชาวไทยจากศูนย์หัตถกรรมภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1307263.28 กรกฎาคม 2560.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภาดล อามาตย์. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีษะเกษ.
วนิดา แก้วเนตร. (2554). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกประเภทหัตกรรมพื้นบ้านของนักท่อง เที่ยวไทย : กรณีศึกษาบ้านถวาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วีรินทร์ลิตา พรหมเพ็ชร. (2555). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อของฝากในอำเภอเมืองลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย
สุภาภรณ์ โหตระไวศยะ. (2553). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้จําหน่ายนํ้าผลไม้สําเร็จรูปที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อติคุณ เลรามัญ. (2555). การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 306-318.
อภิชาต ผลงาม. (2557). ส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการเลือกซื้อของฝากตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.
Philip Kolter. (2003). Marketing Management. 11th ed.Upper Saddle River,NJ: Prentice –Hal.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว