ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วลัยนารี พรมลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • จีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, โปรแกรมการให้ความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และแบบสอบถาม พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาของโปรแกรม เท่ากับ .88 แบบสอบถาม พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตรวจสอบสอบความ เที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .76 และแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ นำไปหาค่าความเชื่อมั่น KR 20 ได้ค่าความเชื่อมั่น .70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ เปรียบเทียบ (T-test)

ผลการวิจัย

1. ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ อยู่ใน ระดับมากเพิ่มขึ้นหลังการได้รับโปรแกรม จากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 98 (ก่อน Mean = 20.11, SD. = .79, หลัง Mean = 24.48, SD. = .54) และค่าเฉลี่ยความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับ โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (Mean = 24.48) และ ทดสอบค่าที พบว่าความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (t= 3.18, P=.01)

2. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี เพิ่มขึ้นหลังจากการได้รับโปรแกรมจากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 96 (ก่อน Mean = 2.38, SD. = .89, หลัง Mean = 2.89, SD. = .50) และค่าเฉลี่ยพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับ โปรแกรมมีค่าเพิ่มขึ้น (Mean = 2.39คะแนน) และ ทดสอบค่าที พบว่า พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพก่อน และหลังมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t = 3.54, P = .01)

References

นิภารัตน์ ศรีรักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุบ้านน้าขาว ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวินี วรประดิษฐ. (2556). ผู้สูงอายุและภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://trat.nfe.go.th/trat/topic5_old.php?page=10 (20 กันยายน 2557).

สำนักงานสถิติจังหวัดปทุมธานี. (2557). สถิตผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2557, จาก http://www.nso.go.th การดูแลผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย.

Bloom S.B. (1975). Taxonomy of Education Objective, Hand Book I : CognitiveDomain. New York : David MackayCo., Inc.

Chen H, Chunharas S. (2009). Introduction to Special Issue on “Population Aging in Thailand”. AgeingInt. 33, 1-2.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4th (ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th(ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.

แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564 สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31