มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • อนงค์ อรุณราช ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) มาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) ผลการยืนยันมาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยตารางประมาณขนาดของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความเชื่อมั่น 90 % ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 โรง หลังจากนั้นทำการเลือกโรงเรียน โดยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน ซึ่งการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ครูวิชาการ และครูบรรณารักษ์หรือครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ประเภท คือ 1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 ฉบับ 2. แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 1 ฉบับ และ 3. แบบสอบถามเพื่อยืนยันมาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
              ผลการวิจัยพบว่า

              1) มาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 8 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ คือ มาตรฐานที่ 1 ด้านบุคลากร มี 12 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 2 ด้านงบประมาณ มี 4 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 3 ด้านอาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์ มี 6  ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 4 ด้านทรัพยากรสารสนเทศ มี 10 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 5 ด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ มี 12 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 6 ด้านการบริการ มี 8 ตัวบ่งชี้ มาตรฐาน       ที่ 7 ด้านการประกันคุณภาพ มี 5 ตัวบ่งชี้ และมาตรฐานที่ 8 ด้านการใช้ประโยชน์จากห้องสมุดโรงเรียน มี 8 ตัวบ่งชี้
               2) ผลการยืนยันมาตรฐานและตัวบ่งชี้ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

References

ชโรซินีย์ ชัยมินทร์ และสุภาณี เส็งศรี. (2563). สถานการณ์ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประเทศไทย. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 26,1. (มกราคม – มีนาคม) : 23.

น้ำค้าง เกิดลิบ. (2548). ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

บุญญลักษณ์ ตำนานจิตร และ สายสุดา ปั้นตระกูล. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดการสารสนเทศประเภทห้องสมุดโรงเรียนในฝันของประเทศไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสวนดุสิต.

พิมพ์นภา ส่งสัมพันธ์สกุล. (2557).ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพลินพิศ โคตรทองหลาง. (2554). การบริหารและการบริการของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาลี ไชยเสนา. (2557).การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในสังคมแห่งการเรียนรู้. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 55-68.

รุ่งรุจี ศรีดาเดช. (2560). การจัดกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนต้นแบบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนของประเทศฟิลิปปินส์ (Standards for Philippine Libraries : School Libraries and Media Centers).เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จากhttps://paslinews.files.wordpress.com/2009/08/standards-for-philippine-school-libraries.pdf

วัลลภา สุภีกิตย์. (2552). แนวทางการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมจินตนา ชังเกตุ. (2554). การพัฒนารูปแบบห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาตลอดชีวิต และการพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายใจ เสือกะ. (2553). การให้บริการห้องสมุดแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2561). รูปแบบการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตสำหรับวัดในประเทศไทย. มหาจุฬาวิชาการ. 5,1 (เมษายน) : 184-195.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรัมภา อัญชลิสังกาศ. (2553). สภาพและปัญหาการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Best, J. W. & Kahn J. V. (2006).Research in Education . 10th ed. Massachusetts : Pearson Education Inc.,

Cronbach, L. J.(1984). Essentials of Psychological Tests, 4th ed. New York : Harper & Row

Publisher.

Likert, R.(1967). The Human Organization: Its Management and Values. New York : McGraw-Hill.

Taro Yamane.(1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed, New York : Harper & Row

Publishers, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-27