ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชาวจีน
คำสำคัญ:
การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้ความง่าย, การยอมรับความเสี่ยง, ความไว้วางใจ, ทัศนคติ, ตั้งใจซื้อ สินค้าออนไลน์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชาวจีน ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจภาคสนาม เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม โดยทำการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาด้วยวิธีของ ครอนบาค เท่ากับ 0.979 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กวางตุ้ง จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีที่ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ราย เพศชายจำนวน 83 คน เพศหญิงจำนวน 117 คน ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณด้วยวิธี Enter พบว่า การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การยอมรับความเสี่ยง ความไว้วางใจและทัศนคติในการซื้อสินค้าออนไลน์สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชาวจีนได้ร้อยละ 28.40 (R2= 0.284, p-value= 0.000) โดยปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ (β=0.205, p-value= 0.009) ความไว้วางใจ (β=0.198, p-value= 0.010) และทัศนคติในการซื้อสินค้าออนไลน์ (β=0.183, p-value= 0.010) ส่วนการรับรู้ความง่าย (β=0.092, p-value= 0.197) และการยอมรับความเสี่ยง (β=0.090, p-value= 0.218) ร่วมกันทำนายความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรณษา แสนละเอียด พีรภาว์ ทวีสุข และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 3-15.
กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก 2017420210820025238.pdf (moph.go.th)
จตุภัทร โล่พลอยและอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทเครื่องประดับที่เป็นพลอยแท้. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 55-72.
บุญอยู่ และคณะ. (2565). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีและความไว้วางใจที่มีผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชําระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5 (1), 45-56.
บริษัท อุ๊ป เน็ตเวิร์ค จำกัด. (2562). 4 ทักษะที่คนทำงานต้องมีเพื่อเอาตัวรอดในปี 2019. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566, จาก https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/4-skill-to-survive-inn-2019.
รสิตา อภินันทเวชและคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยี V-Commerce ในการซื้อสินค้า ของผู้บริโภค Generation Z จังหวัดกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 14(2), 1-12.
Arora, N., & Aggarwal, A. (2018). The role of perceived benefits in formation of online shopping attitude among women shoppers in India. South Asian Journal of Business Studies, 7(1), 91–110. https://doi.org/10.1108/sajbs-04-2017-0048
China Business Intelligence Network News. (2022). The 52nd Statistical Report on China’s Internet Development สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://www.cnnic.com.cn/IDR /ReportDownloads/202311/P020231121355042476714.pdf
Hansen, J. M., et al (2018). Risk, trust, and the interaction of perceived ease of use and behavioral control in predicting consumers’ use of social media for transactions. Computers in Human Behavior, 80, 197–206. https://doi.org/10.1016/j.chb.2017.11.010
Zhang, X., & Yu, X. (2020). The impact of perceived risk on consumers’ cross-platform buying behavior. Frontiers in Psychology, 11. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2020.592246
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-08-01 (2)
- 2024-06-13 (1)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว