นโยบายส่งเสริมความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ: กรณีศึกษาการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารรถตู้โดยสาร สาธารณะในเขตสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิรุตติ์ สมศรี สาขาการจัดการความปลอดภัย คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

นโยบายความปลอดภัย, พฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ ศึกษาปัญหาการนำนโยบายส่งเสริมความปลอดภัย ด้านการคาดเข็มขัดนิรภัยไปปฏิบัติของกองตรวจการ ขนส่งทางบก 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการคาดเข็มขัด นิรภัยของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ในเขตสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อ เสนอแนะแนวทางในการนำนโยบายส่งเสริมความ ปลอดภัยด้านการคาดเข็มขัดนิรภัยไปปฏิบัติ ของกอง ตรวจการขนส่งทางบก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและ การวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากกองตรวจการขนส่งทางบก จำนวน 8 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิธี วิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง จากผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการ ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ T–test และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) กรณี ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้การ ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ (LSD)

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาด้านบุคลากร ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการปฏิบัติงาน และด้าน ความมีส่วนร่วมของประชาชน มีผลต่อการนำนโยบาย ส่งเสริมความปลอดภัยด้านการคาดเข็มขัดนิรภัย ไปปฏิบัติให้สำเร็จของกองตรวจการขนส่งทางบก 2) ผู้โดยสารส่วนใหญ่มีการตระหนักถึงประโยชน์ในการ คาดเข็มขัดนิรภัยและความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมการคาดเข็มขัด นิรภัยของผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะนั้น ภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสม 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับพฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัยในรถตู้ โดยสารสาธารณะ จำแนกตามอายุ, รายได้และ การตระหนักถึงประโยชน์ในการคาดเข็มขัดนิรภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การตระหนักถึงความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนเพศ, การศึกษา และประสบการณ์ในการประสบ อุบัติเหตุทางถนนพบว่าไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ 1) ภาครัฐจะต้องมีนโยบาย ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการใช้เข็มขัด นิรภัยและกฎหมายจราจรในสื่อประชาสัมพันธ์ที่ หลากหลายที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ 2) ควรจะมี กระบวนการสร้างทัศนคติและค่านิยม เพื่อก่อให้เกิด พฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัยที่ดีในสถานศึกษา 3) เจ้าหน้าที่ควรกวดขันผู้โดยสารในการใช้เข็มขัดนิรภัย อย่างเข้มงวด โดยการเพิ่มจำนวนจุดตรวจ ระยะเวลา ในการตรวจ เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติ 4) ควรมี การบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภายนอก อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

References

ขจรศักดิ์ จันทร์พาณิชย์ และคณะ. (2552). การประเมินความตระหนักในความปลอดภัยในการเดินทางและการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และคณะ. (2527). รูปแบบการพัฒนาทัศนคติต่อการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พาชื่น ภาณุพินทุ, พันตำรวจโท. (2542). การวิจัยสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมผู้ใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนวดี ประกายรุ้งทอง. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับรถยนต์ส่วนบุคคลในเขตกรมการขนส่งทางบก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. วิชาเอกสุขศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสริมศักดิ์ วิศาลากรณ์ และคนอื่น ๆ. (2537). เข็มขัดนิรภัย ความเชื่อ ทัศนคติ และการใช้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร.

โสภิตสุดา มงคลเกษม. (2539). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำพร ปัญญาสืบ. (2558). การนำนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะไปปฏิบัติ กรณีศึกษา:การส่งเสริมการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารของสำนักงานขนส่งจังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. ของมหาวิทยาลัยพะเยา.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company, Inc.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. Wiley, New York.

Fhaner, G., & Hane, M. (1974). Seat belts: Relations between beliefs, attitude, and use. Journal of Applied Psychology, 59(4), pp. 472-482.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior 9th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31