กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 9

ผู้แต่ง

  • ธิดา เมฆวะทัต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สุวพร เซ็มเฮง
  • ดวงเดือน แซ่ตัง

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนา กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผ้บู ริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 9 ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 360 คน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการ เรียนรู้ ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัด สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 และทำการสัมภาษณ์ผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผ้บู ริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 9 และตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของกลยุทธ์ การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาน ศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัด สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบ สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้เทคนิค การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลแบบการตอบสนอง คู่ ด้วยค่า Priority Needs Index: PNI) ส่วนข้อมูลเชิง คุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ในภาพรวมและราย ด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมี ค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x} = 4.14) รองลงมา คือ ด้านการสร้าง แรงบันดาลใจ (gif.latex?\bar{x} = 4.12) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมี อุดมการณ์ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา (gif.latex?\bar{x} = 4.11) ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ในภาพ รวมและรายด้านมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย สภาพพึงประสงค์สูงสุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (gif.latex?\bar{x} = 4.62) รองลงมาคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมี อุดมการณ์ (gif.latex?\bar{x} = 4.61) ด้านการคำนึงถึงความเป็น ปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา (gif.latex?\bar{x} = 4.59) ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการ พัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาน ศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจาก มากไปน้อยคือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (PNImodified 0.122) การสร้างแรงบันดาลใจ (PNImodified0.121) การกระตุ้นทางปัญญา (PNImodified 0.117) และการคำนึง ถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (PNImodified 0.109) ตามลำดับ

2. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยน แปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ประกอบด้วย กลยุทธหลัก 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2) การสร้าง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 4) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความ เหมาะสมของกลยุทธ์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 โดยภาพ รวมพบว่า มีความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤติยา จันทรเสนา และนพดล เจนอักษร. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุวัจน์ สองเมือง. (2559: ออนไลน์). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.deepsouthwatch.org/node/8009.

จุมพล พูลภัทรชีวิต และคณะ. (2553). การวิเคราะห์บริบท: ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต. ฉบับปรับปรุง พฤษภาคม 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2543). ทักษะการบริหารทีมงาน. กรุงเทพฯ: Mit Training Center.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และฉัตยาพร เสมอใจ. (2548). การจัดการ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส.

ธวัชชัย หอมยามเย็น. (2548). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาหนองคาย เขต 2. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ:อินโนกราฟฟิกส์.บุญช่วย สายราม. (2559: ออนไลน์). ทักษะภาวะผู้นำองค์กรโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.gotoknow.org2posts2565807.

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2541). ทางเลือกทางรอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เออาร์อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับบิเคชั่น.

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2552). รายวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา. เลย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สราญรัตน์ จันทะมล. (2548). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2. วิทยานิพนธ์นิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). บริบทในการเลือกใช้ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยน. วารสารเอ็มบีเอ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 74.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26