ความสำเร็จและความพร้อมในการดำเนินธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความสำเร็จ, ความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ, โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการความสำคัญ เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ ระดับความพร้อม และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จกับความพร้อมในการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และตัวแบบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานีกลุ่มประชากรผู้บริหารทำงานปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม 3,222 โรงงานในจังหวัดจังหวัดปทุมธานีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 355 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ One Way ANOVA, และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่น้อยที่สุดด้วย LSD (Least Significant Different) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เสนอตัวแบบความสำเร็จของโรงงานอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย ดังนี้
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตำแหน่งผู้จัดการจำนวน 207 คน (58.3%) จำนวนพนักงานมากกว่า 200 คน จำนวน 124 คน (34.9 %) จำนวนเงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 141 คน (39.7 %) ลักษณะการผลิตของโรงงานผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำนวน 309 (87.0%) และส่วนใหญ่มีประสบการณ์การบริหารงาน6ปี - 10 ปี จำนวน 185 คน(52.1%)
- ระดับความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวมเฉลี่ยและทุกด้านอยู่ที่ระดับมากถ้าจัดลำดับตามค่าเฉลี่ย พบ ว่า 3 ลำดับท้ายสุดของระดับความพร้อมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสาร และด้านบุคลากรลำดับท้ายสุด
- ระดับความสำคัญของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จต่อการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมภาพรวมเฉลี่ยและทุกด้านมีระดับความสำคัญมาก ถ้าจัดลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า 5 ลำดับแรกคือ ที่ 1 ด้านบริหารความเสี่ยง (x̄= 4.29) ด้านผลิตภัณฑ์ (x̄= 4.13) ด้านคุณภาพต่อการจัดการโรงงาน (x̄= 4.03) ด้าน ความฉลาดต่อการใช้สินทรัพย์ของโรงงาน (x̄= 3.92) และ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ( x̄ = 3.89) ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560 ลำดับ
- ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัด ปทุมธานีที่มีตำแหน่ง จำนวนพนักงาน และจำนวนเงินลงทุน ในโรงงานแตกต่างกันให้ระดับความสำคัญของปัจจัยนำไป สู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่แตกต่างกัน
- ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ของโรงงานอุตสาหกรรมด้านบริหารความเสี่ยง ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านคุณภาพการจัดการโรงงานมี ความสัมพันธ์ในระดับความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระดับต่ำ
- ตัวแบบความสำเร็จต่อการดำเนินธุรกิจ ของโรงงานอุตสาหกรรม = 9.551 + 6.28ด้านความคิด สร้างสรรค์และนวัตกรรม + 4.95 ด้านความสามารถต่อการ ดำเนินธุรกิจระดับโลก + 4.90 ด้านบริหารความเสียง + 3.44ด้านผลิตภัณฑ์ + .29 ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตัวแบบมีระดับความเชื่อมั่น 63 %(R Square = 63)
References
Julie Juan Li,Kevin Zheng Zhou, (2008). Competitiveness of Multi Nation Company. DuPont named among the most admired companies ่ in the world by Fortune.
Hay Group. [Online]. (2012). FORTUNE World's most admired companies: Frequently asked questions. Retrieved August 18, 2013, from http://www.haygroup.com/Fortune/results/ faqs.aspx
Robert Cooper, (2006). Winning at New Products. (5th ed.). New York : The Dryden Press. Thomas L. Wheelen. (2004). Strategic Management and Business Policy. USA: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว