การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการวิสาหกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา เพลิดพริ้ง อาจารย์สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การจัดการวิสาหกิจชุมชน, ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการวิสาหกิจชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนดีเด่นของประเทศไทย อันดับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2555-2558 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 แห่ง ที่กำหนดโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan ที่ค่าความเชื่อมั่นระดับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน 
              ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (P = .000, r = .759) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของความสัมพันธ์พบว่า การจัดการความรู้ทั้ง 6 กระบวนการมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความรู้หรือภูมิปัญญามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนในความสัมพันธ์อันดับสองมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ปัจจัยด้านคนมีความสัมพันธ์กับกระบวนการกำหนดความต้องการความรู้และการกระจายความรู้ ภาพลักษณ์ตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับการตรวจสอบและติดตามความรู้ และปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับการสร้างและการจัดหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการใช้ความรู้ สำหรับความสัมพันธ์อันดับสุดท้ายพบว่า การจัดการความรู้ด้านการสร้างและการจัดหาความรู้ การตรวจสอบและติดตามความรู้ สัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กร/ชุมชน น้อยที่สุด การกระจายความรู้กับการใช้ความรู้ สัมพันธ์กับภาวะผู้นำน้อยที่สุด การกำหนดความต้องการความรู้กับการจัดเก็บความรู้ สัมพันธ์กับภาพลักษณ์ตราสินค้าน้อยที่สุด 
            ผลจากการวิจัยสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการวิสาหกิจชุมชน ที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนประสบผลสำเร็จและได้รับรางวัลดีเด่น ดังนั้น หากวิสาหกิจชุมชนอีกจำนวนมากได้รับการส่งเสริมให้นำเอาการจัดการความรู้และมีการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ น่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทยให้เติบโตขึ้นได้เป็นอย่างมาก

References

ใจมนัส พลอยดี. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจชุมชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างภาพรวมและภาพย่อย (บ้านคีรีวงษ์ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช และคำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร). วิทยานิพันธุ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เต็มดวง ตรธีญัญพงษ์ และคณะ.(2546). สรุปผลงานวิจัยธุรกิจชุมชน 58 โครงการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพค์รุสุภาลาดพร้าว.

ธงชัย พาบุ. (2552). การจัดการความรู้ธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ . วิทยานิพันธุ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธงชัย พาบุ, กุลธิดา ท้วมสุข และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2553). การจัดการความรู้ของธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมมดัหมี่ ศูนย์ห์ตัถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดฯ 3(1): 52-67.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : วีอินเตอร์พรินท์ .

บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2545).รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาธุรกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วม : การผลิตไวน์ข้าวเหนียว (ดำ).
เลย : สถาบันราชภัฎเลย.

เมธา สุธีรโรจน์ . (2547). ผลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. วิจัยและฝึกอบรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2(1), 2-15.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2555). วิสาหกิจชุมชนดีเด่นปี 2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2556). วิสาหกิจชุมชนดีเด่นปี 2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2557). วิสาหกิจชุมชนดีเด่นปี 2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2558). วิสาหกิจชุมชนดีเด่นปี 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย : ทฤษฎีและปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Marquardt, M.J. (1996). Building the learning Organization. New York: McGraw Hill.

Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge Creating Company. New York: OxfordUniversity Press.

O่ Dell, C. and Grayson, C.J., Jr. (1998). If Only We Knew What We Know: The Transfer ofInternal Knowledge and Best Practice.New York: Free Press.

Probst, G., Raub, S. and Romhardt, K. (2000). Managing Knowledge: Building Blocks forSuccess. Chichester: John Wiley and Sons.

Sveiby, K..E. (1997). The New Organizational Wealth: Managing and Measuring Knowledge Based Assets. San Francisco, CA :Berrett-Koehler..

Tuamsuk, K., Phabu, T, &Vongprasert, C. (2013). Knowledge management model of community business: Thai OTOP Champions. Journal of Knowledge Management 17(3): 363-378.

Turban, E. et al. (2004). Information Technology for Management: TransformingOrganizations in the Digital Economy. 4thed. New Jersey: John Wiley & Sons.

Wiig, K.M. (1993). Knowledge Management Foundation.Texas: Schema Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15