การประเมินความโปร่งใสเว็บไซต์และศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของเทศบาลนครในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จุรินทร์ มั่นคง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นคร เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ข้อมูลข่าวสาร, ความโปร่งใส, เทศบาลนคร, ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความโปร่งใสของเว็บไซต์และศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของเทศบาลนครในประเทศไทย จำนวน 30แห่ง โดยใช้วิธีการสำรวจและประเมินระดับความโปร่งใสตามแบบประเมินความโปร่งใสที่ได้พัฒนาขึ้นและได้ทำการจัดอันดับความโปร่งใสของเว็บไซต์และศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของเทศบาลนครตามคะแนนที่ได้จากการประเมิน

         ผลการศึกษาพบว่าเว็บไซต์เทศบาลนครทั้ง 30แห่ง ส่วนใหญ่มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นไปตามเกณฑ์แบบประเมินความโปร่งใส ข้อมูลข่าวสารที่มีการเปิดเผยและเป็นปัจจุบันมากที่สุดคือเรื่องการจัดการพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีการเปิดเผยมากที่สุดคือเรื่องการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล คิดเป็นร้อยละ 64.81เทศบาลนครที่มีคะแนนการประเมินความโปร่งใสสูงที่สุด คือ เทศบาลนครนครราชสีมา มีคะแนนร้อยละ 87.5เทศบาลนครที่มีคะแนนการประเมินน้อยที่สุด คือ เทศบาลนครนครปฐม มีคะแนนร้อยละ 17.5 และพบว่าศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของเทศบาลนครมีจำนวนทั้งสิ้น22 แห่ง ยังมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอยู่น้อย ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคะแนนการประเมินสูงที่สุดคือ เทศบาลนครภูเก็ตและเทศบาลนครสงขลา มีคะแนนร้อยละ 82.35และเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครพระยาสุรศักดิ์ เทศบาลนครนครราชสีมา มีคะแนนการประเมินน้อยที่สุด คือร้อยละ0

          ผู้ศึกษามีข้อเสนอว่าเทศบาลนครควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์และศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยการจัดสรรเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและมีการถ่ายถอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควรพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลให้มีความพร้อมและสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก โดยควรพัฒนา Application ที่สามารถเข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือหรือTablet ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกและแพร่หลายมากในปัจจุบัน

References

ครูไทย. (2537). สิทธิในการรับรู้ของประชาชน. วิทยาจารย์, 92(4), 15-16.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). Good Governance กับการปฏิรูปการศึกษา - การปฏิรูป การเมือง. ม.ป.พ., 2541.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2550). ธรรมาภิบาล (สัมภาษณ์). เลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.); 14 พฤษภาคม 2551. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรัฐแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า.

ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมธนาคารออมสิน.

ภาสประภา ตระกูลอินทร์. (2550). สังคมไทยกับความโปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ. วารสารนักบริหาร, 27(3), 29-31.

ภูริตา จันทรักษ์. (2561). การประเมินความโปร่งใสของเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัด. (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

โภคิน พลกุล. (2538). หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชรา ไชยสาร. (2544). สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ. ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ: นิติธรรม

วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: อินทภาษ.

ศุภกร ฉายถวิล. (2561). การประเมินความโปร่งใสของเว็บไซต์เทศบาลในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สมคิด เลิศไพฑูรย์, นคร เสรีรักษ์ และ ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. (2556). ท้องถิ่นโปร่งใส การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม. กรุงเทพฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ.

อานันท์ ปันยารชุน. (2542). มุมมองนายอานันท์. กรุงเทพฯ: มติชน.

Agere Sam. (2545). ธรรมาภิบาล การบริหาร การปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-08