การบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการสาธารณภัย, อย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต และ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต
การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้อาศัยวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ นายอำเภอจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 คน หัวหน้าสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน ผู้บังคับการ และผู้กำกับการสถานีตำรวจจังหวัดภูเก็ต จำนวน 4 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวน 2 คน มาจาก 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ รวมจำนวน 11 คน ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อยู่อาศัยจริงในเขตพื้นที่ศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 400 คน จากจำนวนประชากร 402,017 คน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) ควบคู่กับการสำรวจข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมการบริหารงานคุณภาพการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.192, S.D=0.690)
2) การจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.183, S.D=0.712)
3) การบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.201, S.D=0.675) และ
4) ปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการจัดการสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ต พบว่า ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานใกล้เคียง และภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ปัญหาสาธารณภัยยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ร้อยละ 31.5 รองลงมาคือ ด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ร้อยละ 23.1 ด้านการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.8 ด้านการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัย ร้อยละ 18.0 ด้านการรับฟังความคิดเห็น และการรับฟังปัญหาจากประชาชนก่อนดำเนินการจัดทำแผนป้องกันฯ เพื่อใช้รับมือกับปัญหาสาธารณภัย ร้อยละ 4.8 และด้านอุปกรณ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลและข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดภูเก็ตให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพต่อไป
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2556). โครงการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี; รายงานฉบับสุดท้าย (รายงานหลัก). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2555). ความร่วมมือด้านการจัดการสาธารณภัยในอาเซียน. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2556). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ.
ชูวงศ์ อุบาลี. (2557). ศึกษาการบริหารจัดการสาธารณภัย: บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. บทความพิเศษ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 7. ฉบับที่ 2, น.51-69.
Nakasu, T. (2005a). Expansion Process of Human Damages Caused by Hurricane Katrina : A Case of New Orleans. Natural Disaster Research Report of NIED, 41, 55–69.
Nakasu, T. (2005b). Social Gap and Human Damage Caused by Natural Disasters-Focus on the Damage in Thailand Caused by Indian Ocean’s Tsunami-. Report of NIED, (69), p.7-16.
UNISDR. (2013). Post-2015 Framework for Disaster Risk Reduction (HFA2): Report from 2013 Global Platform Consultations.
Yamane, Taro. (1968). Mathematics for economists; an elementary survey.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว