คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลในจังหวัดปทมุธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริหารราชการ, เทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาหน้าที่ของเทศบาลที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตบริการของเทศบาลทั้ง 9 แห่งจำนวน 428,290 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารเทศบาลทั้ง 9 แห่ง
ผลการวิจัย พบว่า
1) ด้านการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 ซึ่งการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.269 (r=0.269)
2) ด้านหน้าที่ของเทศบาล พบว่า หน้าที่ของเทศบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.45 หน้าที่ของเทศบาลของตัวแปรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบริการสาธาณะ และด้านอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาล ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.087 R2=0.0077)
3) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี ของตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปร 4 ด้าน (1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของเทศบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) ด้านการวางระบบการบริหารงานเทศบาลแบบบูรณาการ (3) ด้านการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการของเทศบาลแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (4) ด้านการยกระดับความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารจัดการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R =0.665 R2 = 0.443)
4) ด้านคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมือง พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.64 ซึ่งคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลมีตัวแปร 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี คือ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ร้อยละ 99.50
References
กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลประชากรในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพ ฯ: ผู้แต่ง
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2550). การจัดบริการสาธารณะ. กรุงเทพ ฯ: ผู้แต่ง.
โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ ฯ: วิญญูชน.
จิระประภา ปัตถา. (2559). บทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบาลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยกรุงเก่า, 3(2), 25-32.
ฉลองชัย แสงสว่าง. (ม.ป.ป). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก http://mis.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis/[1][221117120352].pdf
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2535). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพ ฯ: คุรุสภา
ธนศักดิ์ สายจำปา. (2560). การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธฤษณุ รอดรักษา. (2553). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 21(3), 92-106.
นราธิป ศรีงาม. (2557). การบริการสาธารณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2535). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 215-227 สืบค้นจาก file:///C:/Users/up-load/Downloads/65887-Article%20Text-154790-1-10-20160905.pdf
พิชัย ขุมเงิน. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนาดูน ตามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูนจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มุทิตา วรกัลยากุล. (2556). ความสำเร็จในการบริหารเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24(1), 144-158.
ภิศักดิ์ กัลยาณิมตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). แนวทางการบริการสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการ ที่ดีแก่ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(1), 147-157.
รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์. (2557). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐกิจ หิมะคุณ. (2557). การบริหารจัดการกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.). วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17, 151-164. สืบค้นจาก
http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/4767/4578
วรเดช จันทรศร. (2543). การจัดการภาครัฐตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ: สหายบล๊อกการพิมพ์.
วัชรินทร์ อินทรพรหมม วณิฎา แจ่มลำเจียก, พัลยมน สินหนัง และคณะ. (2558). ปัญหาและความต้องการของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราขูปถัมภ์, 9(1), 96-108
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2550). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพ ฯ: ทิพย์วิสุทธิ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารจัดการ. กรุงเทพ ฯ: โพรเพซ.
วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2558). 15 ปี การกระจายอำนาจของไทย: สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพ ฯ: ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น.
วุฒิชัย ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพ ฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
โยธิน แสวงดี. (2558). แนวคิดและหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล.
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพ ฯ: วิทยพัฒน์.
สมพงษ์ เกศานุช, จำนงค์ ผมไผ, กุศล กิตติอัมพร, สัญญา เคณาภูมิ, และพระราชรัตนาลงกรณ์ (2560). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: ทิศทางการกำหนดกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 17(2), 173-185
สมพงศ์ เกษมสิน. (2525). การบริหาร. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สิวาพร สุขเอียด. (2559). การปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติเทศบาล 2496. สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%B705/%B705-20-9999-update.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย. กรุงเทพ ฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเทศบาล. (2561). หน้าที่ของเทศบาล. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER41/DRAWER011/GENERAL/DATA0000/00000002.PDF
สำนักงานเทศบาลเมืองปทุมธานี. (2561). โครงสร้างของเทศบาลเมือง ในจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: สำนักงาน ฯ.
อรทัย ก๊กผล. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพ ฯ: โอเดียรสโตร์.
อรทัย ก๊กผล. (2554). ร่วมคิด ร่วมปฏิรูป การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพ ฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อคิน รพีพัฒน์. (2547). กฎหมายในสายตาของนักมานุษยวิทยาคนหนึ่ง. ใน รพี' 47 : มองกฎหมายหลาก หลายมุม. กรุงเทพ ฯ: คณะกรรมการเนติบัณฑิต สมัยที่ 56 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
อริศรา ป้องกัน. (2559). การบริหารจัดการที่ดีในการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย ศาสตร์, 6(2), 315-325 สืบค้นจาก file:///C:/Users/up-load/Downloads/67173-Article%20 Text-157195-1-10-20160920%20(2).pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว