ตัวแบบการตลาดของผู้จำหน่ายรถบรรทุกในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ตัวแบบการตลาด, ผู้จำหน่ายรถบรรทุก, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญ เปรียบเทียบระดับการความสำคัญของส่วนประสมการตลาด ระดับความภักดีต่อตรายี่ห้อ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดกับความภักดีต่อตรายี่ห้อ และตัวแบบการตลาดของผู้จำหน่ายรถบรรทุกในประเทศไทย กลุ่มประชากรลูกค้าที่ซื้อหรือเคยซื้อรถบรรทุกจากบริษัทฮีโนฯ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดยใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ One Way ANOVA, และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่น้อยที่สุดด้วย LSD (Least Significant Different) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ความสัมพันธ์เพียรสัน เสนอตัวแบบความสำเร็จของโรงงานอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย ดังนี้
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 313 คน (81.3 %) อายุ 36 – 45 ปี จำนวน 152 คน (39.5%) ระดับการศึกษาปริญญาตรี184 คน (47.8%) อาชีพเจ้าของกิจการ219 ตน(56.9%) รายได้ต่อเดือน 55,000 บาทขึ้นไปจำนวน 216 คน (56.1%) และส่วนใหญ่ที่เคยซื้อรถบรรทุก 1 – 10 คัน จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7
2. ระดับความสำคัญส่วนประสมการตลาดรถบรรทุกภาพรวมเฉลี่ย ด้านราคา และด้านการให้บริการลูกค้าบริษัท ฮีโน่ ฯให้ความสำคัญมาที่สุด ส่วนด้านพนักงาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพลูกค้าบริษัท ฮีโน่ ฯให้ความสำคัญมาก หากจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ลำดับแรกด้านราคา (x̄ = 4.50) ด้านการให้บริการ (x̄= 4.39) ด้านพนักงาน (x̄= 4.15) ด้านผลิตภัณฑ์ (x̄= 4.08) ด้านการส่งเสริมการตลาด x̄ = 4.05) การจัดจำหน่าย (x̄= 4.02) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (x̄ = 3.81) เรียงตามลำดับ
3. ลูกค้าบริษัท ฮีโน่ ฯ มีความภักดีมากต่อตราสินค้าในภาพรวมเฉลี่ย ลูกค้าบริษัท ฮีโน่ ฯ มีความภักดีทุกด้านระดับมาก โดยพิจารณาจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยเรียงลำดับดังนี้ ลำดับแรกด้านจะแนะนำผู้อื่นซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่(x̄= 4.05) ด้านเห็นว่ารถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่เป็นรถดี(x̄ = 4.02) ด้านรถบรรทุกจะซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ ในอนาคต( x̄= 3.90) ด้านส่งเสริมสนับสนุนผู้อื่นซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ (x̄= 3.88) และด้านราคารถรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่แพงกว่ายี่ห้ออื่นก็ยังซื้อ(x̄= 3.66) เรียงตามลำดับ
4. ลูกค้าบริษัท ฮีโน่ ฯที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดของรถบรรทุกไม่แตกต่างกัน
5. ความภักดีต่อตราสินค้าด้านแนะนำผู้อื่นซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ และด้านจะซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ถึงแม้แพงกว่ายี่ห้ออื่นมีความสัมพันธ์กับระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดภาพรวมเฉลี่ยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านจะซื้อรถบรรทุกยี่ห้อฮีโน่ในอนาคตมีความสัมพันธ์ปานกลางทิศทางเดียวกัน
6. ตัวแบบการตลาดผู้จำหน่ายรถบรรทุกในประเทศไทย = 1.165 + 4.503X1 +1.863 X3 + 1.254X4 +7.551X5 + 4.338X7 หากพิจารณาระดับการส่งผลต่อยอดจำหน่ายของปัจจัยนำไปสู่ตัวแบบการตลาดผู้จำหน่ายรถบรรทุกในประเทศไทย พบว่า ด้านพนักงานมีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงยอดขายรถบรรทุกมาดที่สุด เท่ากับ 7.551 หน่วย รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์คือตัวรถบรรทุกส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงยอดขายรถบรรทุก 4.503 หน่วย ลำดับที่ 3 ด้านการให้บริการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงยอดขายรถบรรทุก 4.338 หน่วย ลำดับที่ 4 ด้านการจัดจำหน่าย 1 หน่วย จะส่งผลยอดขายรถบรรทุกเปลี่ยนแปลงไป 1.863 หน่วย และลำดับที่ 5 การส่งเสริมการตลาด 1 หน่วย จะส่งผลยอดขายรถบรรทุกเปลี่ยนแปลงไป 1.254 หน่วย เรียงตามลำดับ ตามอย่างไรก็ตามตัวแบบการตลาดผู้จำหน่ายรถบรรทุกในประเทศไทย ที่ใช้ในความเชื่อมั่น 71% (R Square = .71)
References
อำนวย พงษ์วิจารณ์ (2555) กรรมการบริหารอาวุโส บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด,ภาพรวมตลาดรถบรรทุกในปี 2555, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (2556), ส่วนแบ่งตลาดยอดขายรถบรรทุก, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,817 วันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
อิงอร ชัยยันต์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อรถยนต์มือสอง ดุษฎีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอกชัย พันธุลี. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์เชฟโรเลต อาวีโอของวิทยานินิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอ็นจี (CNG) ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Anne Goodchild1 and Karthik Mohan1 (2013), The Clean Trucks Program: Evaluation of Policy Impacts on Marine Terminal Operations1Department of Civil and Environmental Engineering, University of Washington, 121E More Hall, Box 352700, Seattle, WA 98195-2700, USA
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs: Prentice Hall. Meyer
Research Center by POPAL. 1995.
Kotler Philip, Kevin Lane Keller (2010). A Framework for Marketing Management. Fourth Edition . Pearson Education Inc, Upper Saddle, New Jersey, USA, 2009: 110
Martens, Martijn (2009), -Business in third-party logistics: driving the truck for information sharing , Dissertation ,MB: Management and Governance Alexander University Sofia, Bulgaria
Wenjuan Zhaoa and Anne V Goodchildb,(2013) Using the truck appointment system to improve yard efficiency in container terminals aWashington State Department of Transportation, 310 Maple Park Avenue SE, PO Box 47407, Olympia, WA, USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว