รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริการจัดการ, โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร และ 2. รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจำนวน 91 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้อำนวยการ ผู้จัดการ และรองผู้อำนวยการ หรือคุณครูผู้ดูแลอาหารกลางวันนักเรียน จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการศึกษาพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1)การบริการ 2)การสุขาภิบาล 3)โภชนาการ 4)การเงินและงบประมาณ
2. รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานครเป็นพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีความสัมพันธ์ทั้ง 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบทุกตัวมีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบการบริการ (Service) ซึ่งองค์ประกอบโภชนาการ (Nutrition) และ องค์ประกอบการเงินและงบประมาณ (Finance and Budget) มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบการบริการ (Service) และองค์ประกอบโภชนาการ (Nutrition) ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์ประกอบการบริการ (Service) โดยส่งผ่านองค์ประกอบการเงินและงบประมาณ (Finance and Budget)
References
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). หนุนอาหารกลางวันโรงเรียนเอกชนรับ 100%. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ กันยายน 2560. จาก https://www.dailynews.co.th/education/596619
วัชรพล แดงสุภา. (2560). อาหารกลางวันนักเรียนกับความจริงที่ไม่น่ารับประทาน แต่สิ่งนี้กำลังจะ กลายเป็นอดีต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560. จาก http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/60761/
สง่า ดามาพงษ์. (2560). บทบาทของนักกำหนดอาหารต่อการส่งเสริมโภชนาการเชิงรุก. [ออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560. จาก http://www.thaiheart.org/images/column_
/Nutrition_Program.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กองทุน
เพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
พฤศจิกายน 2562. จาก schoollunch.obec.go.th> about_fund
สนอง อูนากูล. (2560). อาหารและโภชนาการ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560. จาก http://www.healthcarethai.com
สุพัตรา สิมมาลา. (2563). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันนักเรียนตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตดุสิต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563. จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1582279417_6114830029.pdfหน่วย
ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา. (2556). คู่มือโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา
Francis M. Ngure and other. (2014). Water, sanitation, and hygiene (WASH),
environmental enteropathy, nutrition, and early child development:
making the links. ANNALS OF THE NEW YORK ACADEMY OF SCIENCES
(1308) : 118-128.
Georgy Idrisov. (2013). Budget Policy and Economic Growth. The Gaidar Institute of
Economic Policy (IEP, Moscow) December 2013 : 2.
John W. Best and James V. Kahn. (2006) Research in Education. (10th ed).
Massachusetts : Pearson Education Inc.
Jamie Busse. (2020). To Help Recover From Covid-19, We Need Universal Free School Meals. [online]. Retrieved October 3, 2020, from https://www.rwjf.org/en/blog/2020/07/to-help-recover-from-covid-19-we-need- universal-free-school-meals.html)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว