องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยตารางประมาณขนาดของ ทาโร ยามาเน ที่ความเชื่อมั่น 90 % ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 100 โรง หลังจากนั้นทำการเลือกโรงเรียน โดยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน ซึ่งการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ 1 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นบุคคลภายนอก 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับร่างองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบสอบถามความคิดเห็น และ 3) แบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 53 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มี 7 ตัวบ่งชี้ 2) ทรัพยากรการบริหาร มี 7 ตัวบ่งชี้ 3) การบริหารจัดการ มี 6 ตัวบ่งชี้ 4) การจัดการเรียนการสอน มี 11 ตัวบ่งชี้ 5) การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล มี 6 ตัวบ่งชี้ 6) เครือข่ายความร่วมมือ มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 7) คุณภาพผู้เรียน มี 11 ตัวบ่งชี้
2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกษม อุ่นมณีรัตน์. แนวปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
คงศักดิ์ ชมชุม. (2557). มาตรฐานและตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการบิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธารินี กิตติกาญจนโสภณ, วีระ วงศ์สรรค์ และ เพ็ชรรัตน์ ฮีมินกูล. (2560). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิผลในสถาบันศึกษาเอกชน. วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 7, 1 (มกราคม–เมษายน) : 55-56.
นุชนรา รัตนศิระประภา. (2552). รูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนา เนื้อน้อย. (2559). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศิริพร ตันติยะมาศ. (2550). รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมรัฐ แก้วสังข์. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรวี ศุนาลัย.(2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2559). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาภาคบังคับ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา.(2560). บทคัดย่อและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากการวิจัย รูปแบบการนำระบบประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาในประเทศไทย : พหุกรณีศึกษา. เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560. เข้าถึงได้จาก http://bet.obec.go.th/index/?p=6585.
Best, J. W. & Kahn J. V. (2006).Research in Education . 10th ed. Massachusetts : Pearson Education Inc.,
Cronbach, L. J.(1984). Essentials of Psychological Tests, 4th ed. New York : Harper & Row Publisher.
Johnstone, James N. (1981) Indicators of education system. London: Unesco.
Joseph, Mathew and Beatriz Joseph. "Service quality in education: a student perspective," Quality Assurance in Education 5, 1 (1997).
Likert, R.(1967). The Human Organization : Its Management and Values. New York : McGraw-Hill.
Lisa Larson. "Evaluating Minnesota’s School Principals (2012). Accessed 12 October 2020. Available from. http:// www.house.mn/hrd/hrd.htm.
Peter, C. “Quality Assurance and Quality Management: Complementary but Different Functions,” Evaluation News and Note 2, 2 (1993).
Taro Yamane.(1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed, New York : Harper & Row Publishers,Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว