แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สันติ สาระชาติ
  • นฤดลภัสสร จักษุเดโชวณิชย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะวิชาชีพของพนักงาน, รักษาความปลอดภัย, พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย จำนวน 400 คน แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะวิชาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง หาความสัมพันธ์โดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ใช้ t-test dependent และ one way ANOVA เพื่อหาผลต่างของระดับความคิดเห็นด้วยวิธีจับคู่พหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย ในการเก็บข้อมูลใช้การสนทนากลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนายกสมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย

              ผลการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทยมีระดับสมรรถนะที่มีในปัจจุบันกับสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทยในสมรรถนะที่คาดหวัง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ได้ตัวชี้วัดสมรรถนะวิชาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ (1) ความรู้การรักษาความปลอดภัย (2) ทักษะการรักษาความปลอดภัย (3) ทัศนคติในวิชาชีพรักษาความปลอดภัย  และได้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) การบริหารบุคคล (2) การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชนเพิ่มเติมจากหลักสูตรมาตรฐานที่คณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยกำหนด (3) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (4) ระบบการสอนงาน(Coaching) (5) การประเมินผลและการฝึกอบรมทบทวนที่สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ

References

กรมการปกครอง. (2559).จำนวนประชาการประเทศไทย ปี พ.ศ.2555-2558 .กรมการปกครอง . สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2559. จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/.

กฤตภาส อารีรักษ์. (2556).“สมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ระดับปฏิบัติการในส่วนของคลังสินค้า ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน”., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชนิน ทิวรรณรักษ์. (2542). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทํางานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). “มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ”. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 104 ก

ยุทธศาสตร์การศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ( 2559).จำนวนตำรวจในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555-2559

และสถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม พ.ศ.2555-2558 .สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2559. จาก http://gis.police.go.th/cstat/stat/arr-percent/all.

วรรณวิสา แย้มทัพ. (2558). “การพัฒนาชุดฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย” : สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรณภรณ์ เติมประยูร. ( 2544). “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความเครียดกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับบริหารชั้นต้น ธนาคารไทยพาณิชย์”.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สนอง ชื่นรำพันธ์. (2553). “แนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง”.วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนาะ พูนเพชร. (2545). บทบาทของพนักงานรักษาความปลอดภัยภาคเอกชนกับการป้องกันอาชญากรรม ในเขตสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม กองบังคับการตำรวจนครบาล 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสงวรรณ โรจนธรรม. (2549). “ผู้หญิงกับการทํางานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย”.สาขาวิชาสตรีศึกษา สํานักบัณฑิตอาสาสมัคร วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bernardes, E. S., & Zsidisin, G. A. (2008). An examination of strategic supply management benefits and performance implications. Journal of Purchasing & Supply Management, 14, 209-219.

Edmonton Regional Learning Consortium. (2013). Competency focused learning. Retrieved

March 21, 2015, from http://erlc.ca/resources/resources/learning_guides_ for_parents/documents/competency-focused-learning-parent-guide.pdf

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Naruedolrapassorn Jaksudechovanith.(2016).The Development of Thai Tourist Police Occupational Standard.Bangkok: National Institute of Development Administration.

Taro Yamane.(1973).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-25