ภาวะผู้นำที่สร้างได้

ผู้แต่ง

  • เสวียน เจนเขว้า สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วรรณภา มูลสาร Teacher Training College Pharanakhon University
  • สมพร ยอดดำเนิน นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำที่สร้างได้

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาองค์การและการจัดการ เพราะจะทำให้มีการปฏิบัติที่ทำให้จุดมุ่งหมายขององค์การบรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ภาวะผู้นำล้วนมีความสำคัญ เพราะก่อให้เกิดผลที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีคำถามต่อไปว่า แล้วลักษณะหรือรูปแบบภาวะผู้นำลักษณะใดหรือแบบใดที่จะสามารถทำให้เกิดนวัตกร (Innovator) หรือนักปฏิรูป ที่จะเป็นผู้สร้างนวัตกรรม (Innovation) หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ซึ่งเป็นหลักคิดที่สำคัญที่สุดในยุคการศึกษาไทย 4.0 ดังนั้นในบทความนี้จึงมุ่งนำเสนอความคิดเห็นต่อวงการศึกษาไทย โดยการคัดสรรลักษณะหรือรูปแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ “ประเทศไทย 4.0 : การศึกษาไทย 4.0” ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมของผู้มีปัญญาในสถาบันการศึกษาทุกระดับ

อย่างไรก็ดีหากคิดเฉพาะเรื่องของผู้นำในสถาบันการศึกษาแล้ว เรื่องของทักษะภาวะผู้นำอาจไม่จำกัดอยู่ในกลุ่มของผู้บริหารเท่านั้น ซึ่งรวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะผู้นำของผู้บริหารด้วย ได้แก่ ผู้สอน หรือครูอาจารย์ และที่สำคัญที่สุดคือผู้เรียน ซึ่งหมายถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา นั่นเอง ดังนั้นโดยแต่ละกลุ่มควรมีภาวะผู้นำตามระดับของแต่ละกลุ่มเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไทยและการศึกษาไทยในยุค 4.0

References

การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำในตัวคุณให้แข็งแกร่ง เอ็นเทรนนิ่งเอ็นเทรนนิ่ง ที่มา https://www.entraining.net/article

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ทักษะภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : มัลติอินฟอร์เมชันเทคโนโลยี.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จํากัด

นพดล เจนอักษร. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา: Theory and Practice in Educational Administration (หน่วยที่ 11 นวัตกรรมการบริหาร). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มนูญ พรมรักษา. (2554). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่.

วิโรจน์ สารัตนะ.(2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์

AchieveGlobal. (2013). “Developing the 21st-Century Leader”.Accessed December 25, 2013, Available at ที่มา http://blog.achieveglobal.com/blog/2012/07/the-virtual-leader-in-training.html (เข้าเมื่อ 5 เมษายน 2563)

Leadership Development Deone Training Center ที่มา https://www deonetraining.com/th/public-course/791(เข้าเมื่อ 5 เมษายน 2563)

Gibson, James L., Ivancevich, John M. and Donnelly, James H., Jr. (1997). Organizations, Behavior Structure Processes. International Edition. United States of America: Irwin/McGraw-

Hill.Lussier , R. N. and Achua, C.F. (2007). Effective Leadership. 3 rd ed. Ohio: South-Western.

Victor Frank. (2014). “POSITIVE THOUGHTS FOR THE DAY”. Accessed 25, Available from ที่มา http//www.oregon.gov/das/lo/docs/positivethoughts.pdf 2013: Online)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-17