การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • บุณฑริกา พงศ์ศิริวรรณ คณะครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พัชราวลัย มีทรัพย์ คณะครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พรทิพย์ ครามจันทึก คณะครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส  จากสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 52 โรงเรียน  เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Need Index ใช้เทคนิค Modified Priority Need Index

ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{\chi&space;}=3.70 , S.D. = 0.67) และ สภาพการปฏิบัติที่ควรจะเป็นของครูผู้สอนมีระดับการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{\chi&space;}= 4.87 , S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (PNI modified = 0.32) รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ PNI modified = 0.31) ด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ (PNI modified = 0.31) และ ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ (PNI modified = 0.29) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545 ก) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

งามนิตย์ ทองน้อย. (2552). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และความสามารถในการ คิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

พินิจ อุไรรักษ์. (2553). ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยที่มีต่อการคิด อย่างมีวิจารณญาณ การใฝ่รู้และเจตคติต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ ปรรัชญาดุษฎี บัณฑิต (การวิจัยการศึกษา).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551 ก). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Bruner, J. T.(1993). Schools for thought: a science of learning in the classroom. MA:MIT Press:Cambridge.

Claxton, C. S. and Murrell, P. H. (1987). Learning styles : Implications for improving Education practices. (pp. 65 – 79). ASHE-ERIC Higher Education Report 4 (October 1987).

Frost, S. H. (1991). Fostering the Critical Thinking of College Women Through Academic Advising and Faculty Content. Journal of College Student Development, 32(4), 359-366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-06