ผลของโปรแกรมการใช้ไม้เท้าช่วยเดินของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • จีรวรรณ อุคคกิมาพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พิมพ์ประภา โตสงคราม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พิลาส สว่างสุนทรเวศย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • จรรยา เสียงเสนาะ สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โปรแกรมการใช้ไม้เท้าช่วยเดิน, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้ไม้เท้าช่วยเดินของ ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม  ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บางพูน อ.เมือง จ. ปทุมธานี จำนวน 54 คน แบ่งกลุ่มละ 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการใช้ไม้เท้าช่วยเดิน และแบบสอบถามพฤติกรรมการเดินโดยใช้ไม้เท้าช่วยเดิน  ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  3 ท่าน มีค่าเท่ากับ 0.89  และ 1.00 ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการเดินโดยใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ด้วย KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่าง (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเดินโดยใช้ไม้เท้าช่วยเดินของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเดินโดยใช้ไม้เท้าช่วยเดิน กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

จิรพรรณ เขียวขำ. (2553). การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

จุฑารัตน์ ประเสริฐ. (2551). การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพผ้สููงอายขุ้อเข่าเสื่อมในหม่บู้านหันใหญ่อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น. (รายงานการศึกษาอิสระ) ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรพล โตพันธานนท์, นพ. (2559). หญิงวัยหมดประจำเดือน ระวังภัยเงียบโรคกระดูกพรุน. สืบค้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 จาก http://medicaldevices.oie.go.th/Article.aspx?aid=5405

บุษรา วาจาจำเริญ และคณะ. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารเภสัชกรรมไทย. 8(2): 230-235.

พนมกร ดิษฐ์สุวรรณ. (2563). การใช้ไม้เท้าอย่างถูกวิธี. สืบค้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.bangkokhealth.com/author/

พรพจน์ ภวะเตนัง. (2561). ความฉลาดทางโภชนาการของคนไข้เกาต์ต่อการบริโภคอาหารในเขตศูนย์แพทย์ วัดหนองแวง จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(2).

ผ่องพรรณ อรุณแสง และคณะ. (2555). ภาพสุขภาพของผู้สูงอายุในสถาบันบริการสุขภาพและในชุมชน.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35(2): 15-24.

สุกัลยา อมตฉายา. (2559). ผลกระทบของการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินต่อความสามารถด้านการเดิน ในผู้ที่มีสุขภาพดี. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 28(1): 92-98.

แสงอรุณ ดังก้อง. (2560). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. เวชบันทึกศิริราช. 10(2): 115-121.

Bradley SM, & Hernandez CR. (2011). Geriatric assistive devices. Am Fam Physician. 84: 405-411.

Burns N, & Grove SK. (2005). The Practice of Nursing Research: Conduct, critique, & utilization.5th ed. Philadelphia, PA: Saunders.

Patcharawan S, Thaweewannakij T, KaewsanmungS, Kaewjoho C, Saengsuwan J, & Amatachaya S. (2015). Walking devices used by the elderly living in rural areas of Thailand. Malays J Med Sci. 22: 48-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-14