ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา วิเชียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • คชาภรณ์ ศรีพารัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • อรทัย โสมนรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • จิรศักดิ์ โรจนาเปรมสุข สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และ2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามทัศนคติในการดูแลตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้โดยใช้สูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.71 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.78  และ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของเพียรสัน

             ผลการศึกษาพบว่า 1)  ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับสูง (Mean = 14.20, 4.50, และ 3.57 ตามลำดับ; SD. = 0.72, 1.15, และ 0.57) และ 2) ความรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง (r = .356 และ .457)

References

นีสรีน สาเร๊ะ ยุทธพงศ์หลี้ยา และกัลยา ตันสกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. หน้า 1587 - 1599.

ปฐญาภรณ์ ลาลุน. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภาส ขำมาก. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561 จาก https://tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/52546/43604?fbclid=IwAR1Vu0BstudA4u0xpS6ZbJ7M9G4rdDKK_nKBPTW30plpmUNCJ8mndTwGPqA

ภัสราวลัย ศีติสาร, อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์ และจารุวรรณ ใจลังกา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 9(2): 120-136.

มุกดา สอนประเทศ. (2558). ความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยก้าวหน้า จ.หนองบัวลำภู. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561 จาก http://203.157.71.148/Information/center/reserch-55

วิจิตรา กุสุมภ์และคณะ. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต:แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สมจิตร ชัยยะสมุทุร และวลัยนารี พรมลา. (2561). แนวทางการพัฒนาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศาส์น, 15(2): 111–23.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Orem, D.E. (2001). Nursing: Concepts of Practice. 6th ed. St. Louis: Mosby.

Pender, et al. (2011). Health promotion innursing practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-15