รูปแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุของการแสวงหาความรู้ภายนอกและคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การแสวงหาความรู้ภายนอก, คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ, ผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับของการแสวงหาความรู้ภายนอก ความสามารถในการดูดซับ คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ กลยุทธ์การแข่งขัน และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ (3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องและความกลมกลืนของตัวแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุของของตัวแปรต่าง ๆ (4) เพื่อยืนยันและตรวจสอบตัวแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุของการแสวงหาความรู้ภายนอกและคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยเครื่องมือเชิงคุณภาพ
วิธีการวิจัยใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรของงานวิจัยนี้คือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้วิจัยทำการคัดเลือกเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นบริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่านั้น ซึ่งจะได้จำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด 331 ราย โดยผู้ตอบแบบสอบถามบริษัทละ 2 คน เท่ากับ 662 คน ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามจะเป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในการวิจัยครั้งนี้ จากการส่งแบบสอบถามผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 476 ชุด คิดเป็นร้อยละ72 ของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation model) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษาระดับของตัวแปรในการวิจัยพบว่า การแสวงหาความรู้ภายนอกอยู่ในระดับมาก ความสามารถในการดูดซับอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับมาก กลยุทธ์การแข่งขันอยู่ในระดับปานกลาง และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อตรวจสอบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ มีผลดังนี้ (1) การแสวงหาความรู้ภายนอก (EK) ไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) (2) การแสวงหาความรู้ภายนอก (EK) มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) ผ่านความสามารถในการดูดซับ (AC) ซึ่งเป็นตัวแปรคั่นกลาง (mediator) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (3) ความสามารถในการดูดซับ (AC) มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (4) การแสวงหาความรู้ภายนอก (EK) มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ (EO) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (5) คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ (EO) ไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) (6) คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ (EO) มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) ผ่านกลยุทธ์การแข่งขัน (CS) ซึ่งเป็นตัวแปรคั่นกลาง (mediator) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (7) กลยุทธ์การแข่งขัน (CS) มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ (EP) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
References
กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน. (2561). ศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.osmsouth-border.go.th/frontpage
ธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์. (2557). การวิเคราะห์การดาเนินธุรกิจด้านฮาลาลใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาเศรษฐศาสตร์.
สุไลมาน ขาเร็มดาเบะ และคณะ (2561). โครงการการศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดเสื้อโต๊ปเพื่อส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย กรณีศึกษาตลาดมัรกัสยะลา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
อกัณห์มณี ลีนาชัย และณักษ์ กุลิสร์. (เมษายน-กันยายน 2556). ปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. หน้า 18-40.
Chen, J., Chen, Y., & Vanhaverbeke, W. (2011). The influence of scope, depth, and orientation of external technology sources on the innovative performance of Chinese firms. Technovation, 31, 362-373.
Edmond, V., & Wiklund, J. (2010). The historic roots of entrepreneurial orientation research. Hist. found. Entrepres, 142–160.
Eggers, F., Hansen, D. J., & Davis, A. E. (2011). Examining the relationship between Customer and entrepreneurial orientation on nascent firms' marketing strategy. The International Entrepreneurship and Management Journal, 8, 203–222.
Ferreras-Mendez, J. L., Fernandez-Mesa, A., & Alegre, J. (2016). The relationship between knowledge search strategies and absorptive capacity: A deeper look. Technovation, 54, 48-61.
Ferreras-Mendez, J. L., Newell, S., Fernandez-Mesa, A., & Alegre, J. (2015). Depth and breadth of external knowledge search and performance: The mediating role of absorptive capacity. Industrial Marketing Management, 47, 86-97.
GEM Thailand Report, (2018). The Global Entrepreneurship Monitor. Retrieved 8 December 2018.
Laursen, K., & Salter, A. (2006). Open for innovation: The role of openness in explaining innovation performance among UK manufacturing firms. Strategic Management Journal, 27(2), 131-150.
Linton, G., & Kask, J. (2017). Configurations of entrepreneurial orientation and competitive Strategy for high performance. Journal of Business Research, 70, 168–176.
Monteiro, F., Mol, M., & Birkinshaw, J. (2017). Ready to be Open? Explaining the Firm Level Barriers to Benefiting from Openness to External Knowledge. Long Range Planning, 50, 282-295.
Patterson, W., & Ambrosini, V. (2015). Configuring absorptive capacity as a key process for research intensive firms. Technovation, 36-37, 77–89.
Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competition. New York, NY: Free Press.
Trott, P., & Hartmann, D. (2009). Why ‘open innovation’ is old wine in new bottles. International Journal of Innovation Management, 13(4), 715-736.
Wales, W. J., Gupta, V. K., & Mousa, F. T. (2013). Empirical research on Entrepreneurial orientation: An assessment and suggestions for future research. International Small Business Journal, 31, 357–383.
Zahra, S. A., & Garvis, D. M. (2000). International corporate entrepreneurship and firm performance: The moderating effect of international environmental hostility.Journal of Business Venturing, 15(5), 469–492.
Zahra, S. A., & George, G. (2002). Absorptive capacity: A review, reconceptualization, and extension. Academy of Management Review, 27(2), 185–203.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว