การศึกษาและพัฒนาเสื่อกกชุมชนหมู่บ้านเสม็ดงาม ผสานเทคนิคการพิมพ์ ดิจิตอล สู่การออกแบบ เครื่องตกแต่งแฟชั่น

ผู้แต่ง

  • ภัทรชัย พันธ์พาณิช วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กรกลด คำสุข วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นัดดาวดี บุญญะเดโช วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เสื่อกกจันทบูร, การพิมพ์ดิจิตอล, เครื่องตกแต่งแฟชั่น

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งแฟชั่นโดยเริ่มจากการศึกษาภาคเอกสาร และ การ สัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางแฟชั่นและลายพิมพ์ การศึกษาอัตลักษณ์การทอเสื่อกกจันทบูร ของชุมชนหมู่บ้านเสม็ดงาม และ ชุมชน สถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบ การทดลองขึ้นตัวอย่างเพื่อศึกษาเทคนิควิธีการออกแบบ และ การปรับใช้ให้เข้ากับเครื่องตกแต่งแฟชั่นโดยกระบวนการเริ่มจาก 1.การประชุมกลุ่มเพื่อทราบถึงจุดประสงค์ของแนวคิด 2.สืบค้นข้อมูลการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งแฟชั่น 3.ศึกษาเทรนด์การออกแบบแนวโน้ม ทิศทางของการออกแบบแฟชั่นปี 2022-2023 เพื่อใช้ในการออกแบบ 4.ศึกษา องค์ประกอบของ การทอเสื่อกกจันทบรู การผสมผสานวัสดุใหม่ๆ การให้สีการแนวคิดการออกแบบ 5.สร้างคำสำคัญและกรอบแนวคิดการวิจัยสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งแฟชั่นที่ผสานลายพิมพ์ดิจิตอล 6.ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งแฟชั่นโดยใช้แรงบันดาลใจจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลจริง เพื่อให้สอดคล้องกับคำสำคัญและกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ 7.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประชุม เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวคิดการออกแบบ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็นดังนี้ อัตลักษณ์ของชุมชนเสม็ดงามที่นำมาสร้างลายพิมพ์ โดยการศึกษารูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน,วิถีชีวิต,การทอเสื่อกก,สถานที่โดยรอบใกล้เคียงชุมชน, รูปทรงจากธรรมชาติอื่นๆเช่น หิน,ต้นไม้ และ ดอกไม้ โดยนำมาเป็นต้นแบบสำหรับการร่างภาพออกแบบและปรับใช้สู่กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่2 การผสมผสานทิศทางและแนวโน้มของแฟชั่นในอนาคตจากเทรนด์การออกแบบปี 2022-2023 ให้เข้ากับการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งแฟชั่น ผลการศึกษาและพัฒนาเสื่อกกชุมชนหมู่บ้านเสม็ดงาม ผสานเทคนิคการพิมพ์ดิจิตอล สู่การออกแบบ เครื่องตกแต่งแฟชั่น พบว่าสามารถออกแบบสินค้าประเภทเครื่องตกแต่งแฟชั่น ผสานลายพิมพ์ดิจิตอล ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ลายพิมพ์ที่พิมพ์ไปบนเสื่อกกที่พัฒนาด้วยการผสมผสานวัสดุประเภทอื่นๆที่ทอลงไป ผลสรุปว่าเส้นใยสังเคราะห์มีการติดของสีพิมพ์ได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ทำให้การทำวิจัยในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ  และควรต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่นๆไปสู่ช่องทางการจำหน่ายจริงต่อยอดสู่การสร้างแบรนด์กระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างองค์ความรู้ใหม่ และยังสร้างกลุ่มลูกค้าตามกระแสของปัจจุบันหลังการเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เนื่องจากมีความสวยงามและได้มีความสร้างสรรค์ให้กับเสื่อกกของชุมชนในทิศทางของอุตสาหกรรมแฟชั่น

References

D-Conceit. (2559). INKJET System. สืบค้นจาก https://www.d-conceit.com/inkjet-printing-system/

Emily O'Rourke. (2021). Handbag / Purse design illustration sketch drawing / Hand rendering.

Retrieved from https://www.coroflot.com/emilyorourke/Handbag-Purse-design-illustration-sketch-drawing-Hand-renderingURL

Fashionary. (2016). Bag Design. New York: THAMES & HUDSON (S) PRIVATE LIMITED.

Key Items Fashion S/S 22. (2021). Women's Bags. Retrieved from https://www.wgsn.com/fashion/article/88747

P. Galliker, J. Schneider, H. Eghlidi, S. K., V. Sandoghdar, และ D. Poulikakos. (2012). Direct printing of nanostructures by electrostatic autofocussing of ink nanodroplets. Retrieved from https://www.nature.com/articles/ncomms1891

Watkins, H. (2021). Prints & Graphics Capsule: Women’s Let's Party S/S 22. Retrieved from https://www.wgsn.com/fashion/article/92178

Wikipedia. (2564). Thermal-transfer printing. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Thermal-transfer_printing

จุฑาทิพย์ นามวงษ์. (2556). การเพิ่มคุณค่าเส้นใยพืชชุ่มน้ำด้วยกระบวนการพัฒนาการออกแบบและแปรรูป. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. สืบค้นจาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/?q=node/1353URL

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค (พ. 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูริณัฐร์ โชติวรรณ. (2559). การทอเสื่อกกกับ "ทุน" ของชุมชนบางสระเก้าในจังหวัดจันทบุรี. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22, 1-17.

https://vcharkarn.com/article/design-thinking-คืออะไร/

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (2561). ภูมิปัญญาเสื่อกกจันทบูร. สืบค้นจาก https://www.ldm.in.th/cases/5394

สุเทพ สุสาสนี, เชษฐ์ณรัช อรชุน, ธนกร ภิบาลรักษ์, ชลพรรณ ออสปอนพันธ์, ปรอยฝน ทวิชัย, เบญจพร ประจง, . . . กฤติยา โพธิ์ทอง. (2564). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน : กรณีศึกษางานทอเสื่อกกและงานจักสานด้วยคลุ้มในจังหวัดจันทบุร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับที่11(น. 226-239).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24