การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สู่วิถีชีวิตใหม่ของผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์, ส่วนประสมทางการตลาด, โอทอปบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุตรดิถต์ และจังหวัดแพร่ ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ภายในจังหวัดอุตรดิตถ์หรือจังหวัดแพร่ ใน 10 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 380 คน ทั้งนี้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา จัดกลุ่มปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัย (Exploratory Factor Analysis) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า OTOP โดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี่ (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (67.89%) มีอายุระหว่าง 20–30 ปี (50.53%) สถานภาพโสด (76.58%) เป็นนักเรียน/นักศึกษา (54.21%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (60.53%) มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (68.95%) พฤติกรรมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ พบว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกวัน (91.32%) ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต (58.16%) ใช้งานเพื่อการซื้อ-ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ร้อยละ 10.26 โดยมีการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตทุกเดือน (34.21%) เนื่องจากความสะดวกสบาย (40.79%) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาท (64.21%) และชำระเงินผ่านการโอนเงินทางธนาคารหรือตู้ ATM (69.21%) การจัดกลุ่มปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสามารถจัดได้ 6 กลุ่ม (6Ps) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า OTOP ได้แก่ อายุ อาชีพ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์ OTOP โดยการเพิ่มช่องทางการตลาดชนิดออนไลน์ (on-line) ผ่านเว็บไซต์ https://www.otopuru.com การพัฒนาเว็บไซต์เลือกใช้ SDLC ภาษาคอมพิวเตอร์ PHP ฐานข้อมูล MYSQL และ cms ใช้ชุดคำสั่ง wordpress ร่วมกับปลั๊กอิน Woo commerce เพื่อตอบสนองต่อการขายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อไปในอนาคต
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กศิพัฎญ์ ทองแกม. (2562). ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาดออนไลน์เชิงพุทธในจังหวัดอุดรธานี. มหาจุฬานาครทรรศน์ 6 (9) : 4627-4644.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ 2561. อุตรดิตถ์: สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2562). 'ซีเอ็มเอ็มยู' ชำแหละจุดอ่อนสินค้าโอทอปไทย ต้องเข้าใจมุมมองผู้บริโภค. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.posttoday.com/economy/sme/ 599771.
บุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 6 (1) : 95-113.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. กรุงเทพฯ: กองสถิติเศรษฐกิจ.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2562 – 2565. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2554). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.
แอนนา พายุพัด. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 10 (1) : 57.
Kotler, P. and Armstrong, G. (2010). Principle of marketing. 13th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว