ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นพกร คำมา สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • ปรีดา วานิชภูมิ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • สุนีย์ ยังสว่าง สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • เดวิด ภิระบรรณ์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • สุลีมาศ คำมุง สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา จังหวัดพะเยา 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา จังหวัดพะเยาของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ใช้บริการ โรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา จังหวัดพะเยา เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  ผลการวิจัยพบว่า
                  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา จังหวัดพะเยา ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ปัจจัยด้านครูสอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก พบว่า ครูตั้งใจสอนให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำกิจกรรม ครูมีบุคลิกภาพที่ดี การแต่งกายถูกระเบียบ และการพูดจาดีและวางตัวเหมาะสม 2) ปัจจัยด้านผู้เรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี มีวินัย ซื่อสัตย์ อดทน เสียสละและรับผิดชอบ 3) ปัจจัยด้านผู้บริหาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก พบว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอยู่เสมอและการมีส่วนในการสนับสนุนด้านการศึกษาของผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
                    2.ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และอายุต่างกัน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

References

นววรรณ พวงลำไย. (2562) การบริหารงานวิชาการของครู วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา ใจดี. (2564) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2564)

วรพล เจริญวัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภารัตน์ บาลนาคม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559).กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก

อภิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เอื้ออังกูร ชำนาญ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (8), 90-104.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Mott, P. E. (1972). The characteristics of effective organizations. Harper & Row.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-06