Journal Information
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
หลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อเสนอตีพิมพ์
ในวารสารปณิธาน
***
1. วัตถุประสงค์และขอบเขตวารสาร
วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา ในรูปแบบผลงาน 4 ประเภท คือ (1) บทความวิจัย (research article) (2) บทความวิชาการ (academic article) (3) บทความปริทัศน์ (review article) (4) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) รับตีพิมพ์บทความทั้งสอง 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งรูปแบบรูปเล่มและระบบวารสารอิเล็คทรอนิคส์ Thai Journals Online (ThaiJO)ทุกบทความใช้กระบวนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่านเป็นผู้ประเมินบทความ ซึ่งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind peer review) กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)
2. บทความที่เสนอตีพิมพ์
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธาน จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความทุกประเภทเพื่อตีพิมพ์ในวารสารปณิธานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารปณิธาน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารปณิธาน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารปณิธาน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนบทความที่ยังไม่เคยสมัครสมาชิกระบบวารสารออนไลน์ของ Thai Journals Online (ThaiJO) ต้องลงทะเบียนสมัครก่อนในระบบวารสารออนไลน์ของวารสารปณิธาน ได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/user/register เมื่อเป็นสมาชิกแล้วเข้าสู่ระบบและส่งบทความผ่านระบบการจัดการวารสารออนไลน์ ได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/about/submissions
โดยสามารถส่งบทความได้ตลอดทั้งปี
ดาวน์โหลด คำแนะนำสำหรับผู้เขียน รูปแบบการพิมพ์ และรูปแบบการอ้างอิงในวารสารปณิธาน
4. การจัดเตรียมต้นฉบับ
1) ความยาวของบทความ รวมเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมและอื่นๆ ควรมีความยาวประมาณ 10-15 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด (Microsoft Word) แบบหน้าเดียว (Single-Spacing) ด้วย Font TH Sarabun PSK ขนาด 16 Point จัดหน้ากระดาษกระจายแบบไทย
2) การจัดระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.54 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้ว
3) การใช้ตัวเลขให้ใช้ตัวเลขอารบิคในบทความทั้งหมด
4) หมายเลขหน้าบทความให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านบนขวา ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
5) ชื่อเรื่องบทความระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 Point (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
6) ชื่อผู้เขียนให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวปกติ) พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 2 บรรทัด จัดชิดขวา มีผู้เขียนร่วมหลายคนให้ใส่ตัวเลขยกกำกับหลังชื่อแต่ละคน
7) ชื่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยที่สังกัดของผู้เขียน ขนาดตัวอักษร 12 Point (ตัวปกติ) จัดชิดขวา ถ้ามีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ตัวเลขยกกำกับหลังชื่อหน่วยงานแต่ละคน
8) อีเมลและเบอร์โทรของผู้เขียนหลักที่ติดต่อได้ ขนาดตัวอักษร 12 point (ตัวปกติ) จัดชิดขวา ใส่คำว่า *Corresponding Author, e-mail: นำหน้าอีเมล์และเบอร์โทร
9) ตัวชื่อบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ เนื้อความบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 point (ตัวธรรมดา) จัดตามปกติ
10) องค์ประกอบหัวข้อบทความทุกแบบให้ใส่ระบบตัวเลขอารบิคกำกับ โดยใส่มหัพภาคหลังตัวเลขและเว้น 2 ช่วงตัวอักษร ก่อนเริ่มคำหรือข้อความต่อไป ส่วนหัวข้อรองให้มีตัวเลขกำกับโดยให้เริ่มระยะที่อักษรตัวแรกขององค์ประกอบหัวข้อบทความหรือเนื้อความ
11) การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน โดยให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ
12) การเขียนภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายศัพท์ทางเทคนิคให้เขียนในวงเล็บต่อท้ายคำศัพท์นั้น ๆ โดยอธิบายเพียงครั้งแรกที่ศัพท์นั้นปรากฎในบทความภาษาอังกฤษต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ
13) ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี)
14) ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อภาพ แผนภูมิระบุแหล่งที่มา จัดกึ่งหน้ากระดาษ
15) หัวข้อเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ขนาดตัวอักษร (16 ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ส่วนรายละเอียดเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ขนาดตัวอักษร 16 point (ตัวปกติ) จัดพอดีหน้า เว้นวรรคตอนให้ถูกต้องตามระบบ APA เรียงจากตัวอักษรไทย ก-ฮ และตัวอักษร A-Z
สรุปการพิมพ์ตัวอักษรและการจัดวางตำแหน่ง
รายการ |
ขนาด |
จัดตำแหน่ง |
ลักษณะตัวอักษร |
ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
18 pt. |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
ชื่อผู้เขียนทุกคนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
14 pt. |
ชิดขวา |
ตัวปกติ |
ชื่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
12 pt. |
ชิดขวา |
ตัวปกติ |
Corresponding Author/ e-mail: /เบอร์โทร |
12 pt. |
ชิดขวา |
ตัวปกติ |
คำว่า “บทคัดย่อ”และ “Abstract” |
16 pt. |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
14 pt. |
ชิดซ้าย |
ตัวปกติ |
คำว่า “คำสำคัญ”และ “Keywords” |
16 pt. |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
จำนวนคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
16 pt. |
ชิดซ้าย |
ตัวปกติ |
ชื่อหัวเรื่ององค์ประกอบบทความ |
16 pt. |
ชิดซ้าย |
ตัวหนา |
ชื่อหัวข้อย่อยของแต่ละหัวข้อ |
16 pt. |
ย่อหน้า |
ปกติ |
เนื้อหาบทความ |
16 pt. |
พอดีหน้า |
ตัวปกติ |
การเน้นข้อความในบทความ |
16 pt. |
พอดีหน้า |
ตัวหนา |
คำว่า “เอกสารอ้างอิง” หรือ “บรรณานุกรม” |
16 pt. |
กึ่งกลาง |
ตัวหนา |
รายละเอียดเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม |
16 pt. |
พอดีหน้า |
ตัวปกติ |
5. ส่วนประกอบของบทความ
5.1 บทความวิชาการ (Academic Article) หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ โดยควรมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1) ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อเรื่องควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา
2) บทคัดย่อ (Abstract) สรุปเนื้อความของบทความให้ได้ใจความชัดเจน ถ้าเป็นบทความภาษาไทยให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 300 คำ
3) คำสำคัญ (Keywords) ระบุคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ
4) บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา รวมทั้งระบุถึงขอบเขตเนื้อหาของบทความ
5) เนื้อหา (Body of Text or Content) เป็นส่วนหลักของเนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นออกเป็นส่วนย่อยๆ และมีการจัดเรียงลำดับเป็นหัวข้อมีตัวเลขอารบิคหัวข้อกำกับตามรายละเอียดของเนื้อหา
6) บทสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน และกระชับโดยมีการสรุป ปิดท้ายเนื้อหาที่เราได้นำเสนอไปแล้วว่ามีผลดี หรือผลเสียอย่างไร
7) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References) เขียนในรูปแบบ APA (American Psychological Association)
5.2 บทความวิจัย (Research Article) ควรมีการนำเสนอผลการวิจัยที่ได้รับอย่างเป็นระบบ โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1) ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อเรื่องควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา
2) บทคัดย่อ (Abstract) ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนเป็นภาษาไทยก่อน ความยาวไม่เกิน 300 คำ การเขียนบทคัดย่อคือการสรุปสาระสำคัญของเรื่องโดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษาและผลการวิจัย
3) คำสำคัญ (Key words) ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่เกิน 5 คำ ใต้บทคัดย่อ
4) บทนำ (Introduction) เป็นการอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การวิจัย มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือโต้แย้ง รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
5) วัตถุประสงค์ (Research Objectives) ระบุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
6) วิธีการวิจัย (Research Methodology) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดชัดเจน
7) ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย การใช้ตารางหรือแผนภูมิ ไม่ควรเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบอย่างชัดเจน
8) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและตีความผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย
9) บทสรุป (Conclusion) สรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์
10) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References) เขียนในรูปแบบ APA (American Psychological Association)
5.3 บทความปริทัศน์ (Review Article) นำเสนอประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป ให้เรียงลำดับหัวข้อดังนี้
1) บทนำ (Introduction)
2) เนื้อหา (Content)
3) บทวิจารณ์ (Discussion)
4) บทสรุป (Conclusion)
5) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References)
5.4 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระให้เห็นคุณค่าของหนังสือ โดยบทวิจารณ์หนังสือจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของหนังสืออันประกอบด้วยชื่อผู้เขียน จำนวนหน้า ปีที่พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสถานที่พิมพ์ให้ชัดเจน ให้เรียงลำดับหัวข้อดังนี้
1) บทนำ (Introduction)
2) เนื้อหา (Content)
3) บทวิจารณ์ (Discussion)
4) บทสรุป (Conclusion)
5) เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References)
6. ระบบการอ้างอิงเนื้อหาในบทความ
วารสารปณิธานใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความด้วยระบบนามปี (Name-Year) ของ APA (American Psychological Association) ให้ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง (หากเป็นต่างชาติให้ระบุนามสกุล) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิง ตัวอย่าง
กรณีการอ้างหน้าข้อความ เช่น สมชาย ขยันยิ่ง..... (2563, น. 60) หรือ Herman ........ (1991, p. 89) หรือ Herman...... (1991, pp. 85-89)
กรณีการอ้างหลังข้อความ เช่น...... (สมชาย ขยันยิ่ง, 2563, น. 60) หรือ....... (Herman, 1991, p. 89) หรือ....... (Herman, 1991, pp. 85-89)
7. รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
การเขียนเอกสารอ้างอิง ใช้การอ้างอิงและบรรณานุกรมของ APA Style (American Psychology Association) อย่างเคร่งครัด และเขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น และควรเรียงจากตัวอักษรไทย ก-ฮ และ ตัวอักษร A-Z Download หลักเกณฑ์การเตรียมต้นฉบับและรายละเอียดรูปแบบการอ้างอิง