เกี่ยวกับวารสาร

Focus and Scopes (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)

     วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่      มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา

 

Types of Article (ประเภทของบทความ)

  • บทความวิจัย             (research article)
  • บทความวิชาการ        (academic article)
  • บทความปริทัศน์        (review article)
  • บทวิจารณ์หนังสือ      (book review)

 

Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

 

Peer Review Process  (กระบวนการพิจารณาบทความ)

        วารสารปณิธานปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ สกอ. และ สกว. กำหนด โดยกองบรรณาธิการ ประกอบด้วยศาสตราจารย์ คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกที่มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่ง และมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)
  • มีนโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ
          1. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
          2. บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
          3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
  • กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ
           บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้
       1.  เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว จะตรวจสอบบทความว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-45 วัน
        2. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นว่าควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ประเมินคุณภาพบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ทั้งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-40 วัน
          3.  เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด
 
 
Publication Frequency  (กำหนดการตีพิมพ์)

       กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ 6 เดือน

  • ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)
  • ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)

 

Publisher (เจ้าของวารสาร)

ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
 
โทรศัพท์ : 053-943263
โทรสาร   : 053-942332

โทรศัพท์ : 053-943263
โทรสาร   : 053-942332
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะมาศ ใจไฝ่
โทรฯ. 098-2720615
 
Website : https://tci-thaijo.org/index.php/panidhana
E-mail :   panidhana-human@cmu.ac.th