แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในงานจิตรกรรมของ ปาโบล ปิกัสโซ
คำสำคัญ:
สุนทรียศาสตร์, จิตรกรรม, ปิกัสโซ, คิวบิสม์, ศิลปะสมัยใหม่บทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในงานจิตรกรรมของ ปาโบล ปิกัสโซ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในงานจิตรกรรมของปาโบล ปิกัสโซ โดยมีกรอบการศึกษา 3 ประเด็น คือ 1) สุนทรียเจตคติ 2) ประสบการณ์สุนทรียะ และ 3) คุณค่าเชิงสุนทรียะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่ใช้ข้อมูลจากตำราเอกสาร และจากผลงานจิตรกรรมของปิกัสโซจำนวน 20 ภาพ ระหว่างปี ค.ศ. 1903-1972 เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการวิเคราะห์
จากการศึกษาพบว่า สุนทรียเจตคติของปิกัสโซ เน้นการแสดงออกทางด้าน “อารมณ์และการสร้างสรรค์” มีงานจิตรกรรมเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด งานจิตรกรรมที่สร้างขึ้นเป็นการรับรู้เชิงสหัชญาณ และรับรู้ในเชิงจินตภาพ สุนทรียะเจตคติของปิกัสโซ ยังสอดคล้องกับแนวคิดมนุษยนิยมและปรัชญาอัตถิภาวนิยมของนิทเช่ ที่มองว่ามนุษย์มีอิสรภาพในการสร้างสรรค์ และสามารถเลือกดำเนินชีวิตไปในแนวทางของตน สู่การเป็นนายของตนเอง และเจตคติแสดงถึงสภาวะเพลิดเพลินต่อการสร้างสรรค์ มองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆในชีวิต
ขณะที่ประสบการณ์สุนทรียะในงานจิตรกรรมของปิกัสโซ ผู้ชมจะได้รับความรู้สึกที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ดูจะพิจารณางานจิตรกรรมในยุคไหน การรับรู้ความสุนทรีย์พบได้จากเส้น สี น้ำหนัก รูปทรงและพื้นผิว นำไปสู่ความประทับใจ ดื่มด่ำ เคลิบเคลิ้ม และผลงานบางชิ้น อาจสร้างความรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ สะเทือนใจ น่าทึ่ง พรั่นพรึง และดึงใจให้ห่างจากความจริง ชั่วขณะ ผู้วิจัยเห็นว่า ลักษณะงานจิตรกรรมของปิกัสโซ เป็นทวินิยมเชิงสุนทรียศาสตร์ เพราะในการสร้างสรรค์ศิลปะนั้น จะให้ความสำคัญทั้งรูปทรงและอารมณ์
ผลงานจิตรกรรมของปิกัสโซทุกชิ้น มีคุณค่าเชิงสุนทรียะอย่างแท้จริง ในด้านความงาม ปิกัสโซเป็นสัมพัทธนิยม เพราะให้ความสำคัญกับคุณสมบัติที่มีอยู่ในวัตถุและต้องมีจิตของบุคคลเป็นผู้พิจารณาการมีอยู่ของเนื้อหาเรื่องราว สุนทรียศาสตร์ของปิกัสโซไม่ยึดติดรูปแบบ หรือกรอบคิดเฉพาะคิวบิสม์เพียงอย่างเดียว แต่จะดูดซับ ปรับเปลี่ยน หยิบยืมแนวทางการสร้างสรรค์มาจากหลายลัทธิ แล้วนำมาผสมผสานให้เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว
References
Buchholz, E. L. (1999). Pablo Picasso: life and work. Cologne: Konemann.
Bunmi, T. (2004). Lokmodoen Lae Phomodoen [Modern & Post Modern]. Bangkok: Saithan.
Chaiyo, W. (2007). Sunthariyasat [Aesthetics]. Chiang Mai, Faculty of Humanities: Chiang Mai University.
Cox, N. (2004). Khiobi [Cubism]. (Akbut, W. & Thatchan, A. Trans.). Bangkok: Fine Art Magazine.
Duchting, H. (2008). Pablo Picasso. New York: NY Prestel.
Feldman, E. B. (1992). Thritsadi Kieokap Kan Wichan [The Theory of Criticism]. (Tangnamo, S. Trans.). Chiang Mai, Faculty of Fine Arts: Chiang Mai University.
Huffington, A. S. (2006). Pikatso Atchariyaphap Lae Sanchattayan Mut [Picasso creator and destroyer]. (Munmak, A. Trans.). Bangkok: Phraeo Publishing.
Kovach, F. J. (1974). Philosophy of beauty. Norman: University of Oklahoma Press.
Nungthida. (2004). Pikatso [Picasso]. Bangkok: Phirap.
Palarat, L. (2010). Sunthariyasat [Aesthetics]. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Phumisak, C. (1988). Sinlapa Phua Sinlapa: Sinlapa Phua Prachachon [Art for Art’s Sake: Art for Art’s People]. Bangkok: Dokya.
Ratchabanthittayasathan. (1989). Photchananukrom Sap Pratya Angkrit-Thai [English-Thai Dictionary of Philosophy]. Bangkok: Ratchabanthittayasathan.
Sutthiphan, A. (1985). Sinlapa Niyom [Art Appreciation]. Bangkok: Kradatsa.
Tangnamo, S. (1994). Pratyasin Sunthariyasat [Art Philosophy Aesthetics]. Chiang Mai: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University.
Tolstoy, L. (1995). Sinlapa Khu Arai [What is Art?]. (Saenkrachang, S. Trans.). Bangkok: Khombang.
Walther, I. F. (2001). Pablo Picasso 1881-1973: genius of the century. Germany: Barnes Noble Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th