บทกลอนขับลำ

สื่อในการจัดการความขัดแย้งในชุมชนผ่านพิธีกรรมการเหยาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • kriangkrai pasuta Nakhon Phanom University

คำสำคัญ:

การจัดการความขัดแย้ง, ลักษณะของการจัดการความขัดแย้ง, กลุ่มหมอเหยา, การควบคุมทางสังคมของกลุ่มหมอเหยา, พิธีเหยา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในชุมชนผ่านพิธีกรรมการเหยาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งในชุมชนผ่านพิธีกรรมการเหยาของกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) กลุ่มหมอเหยาในชุมชนพื้นที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 20 กลุ่ม และ 2) กลุ่มครอบครัวของประชากรที่เคยผ่านการรักษาด้วยพิธีกรรมเหยาจากกลุ่มหมอเหยาลุ่มเป้าหมาย 40 ครอบครัว ใช้เทคนิคการการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้ 4 เทคนิคหลักคือ 1) การบันทึกประวัติชีวิตบุคคล 2) เครื่องมือการสังเกต 3) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และ 4) การสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า บทกลอนขับลำที่หมอเหยาใช้ในการขับลำในพิธีกรรมการเหยาในแต่ละขั้นตอนนั้นนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อภาษา การติดต่อ ระหว่างมนุษย์กับผี เพื่อสร้างความเข้าใจเป็นการยุติมิให้ผีมารังควานทำความเดือดร้อนต่อผู้ป่วยอีก นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทด้านการจัดการความขัดแย้งทางสังคมที่พบปรากฏในกลอนลำอย่างเด่นชัด หมอเหยาจะมีการขับลำให้คนป่วยประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ตามหลักทางพระพุทธศาสนาและฮีตคลองธรรมเนียมของชาวอีสาน ได้แก่ 1) หลักความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ 2) หลักแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่พูดโอ้อวด ทระนงตนเอง และรักษาสัจจะเท่าชีวิต 3) หลักของการทำบุญให้ทาน 4) หลักของกฎแห่งกรรม

References

Chuengsatiansup, K., et al. (2004). Chāttiphan kap kānphǣt. Bangkok, Thailand:
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Pub-
lic Organisation).
______ . (1998). Kāndūlǣ raksā sukkhaphāp læ kān raksā phayābān: praden thī -
khūan phičhāranā nai rabop khwāmrū phư̄nbān patčhuban:
kānwičhai læ phatthanā. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn
University Press.
Deesuankhok, C. (1997). Chaokhōt: kān rangap khwāmkhatyǣng nai watthanatham
ʻĪsān. Khon Kaen, Thailand: Arts and Culture Office, Khon
Kaen University.
Sawangrat, S. (1981). Kānsưksā chœ̄ng prīapthīap praphēnī watthanatham chāo
phū thai læ chāosō. Sakon Nakorn, Thailand: Faculty of Hu-
manities and Social Sciences Sakon Nakorn Teaching College.
Srisontisuk, S. (2005). Rabīap withī wičhai thāng sangkhommasāt: nǣothāng sū
kānsưksā chœ̄ng parimān læ chœ̄ng khunnaphāp . Khon Kaen,
Thailand: Faculty of Humanities and Social Sciences.
______. (2008). Lakkān wikhrǫ khō̜mūn chœ̄ng khunnaphāp . 3rd Edition. Khon
Kaen, Thailand: Faculty of Humanities and Social Sciences.
______. (2009). Sangkhomwitthayā sukkhaphāp . 2nd Edition. Khon Kaen, Thai-
land: Faculty of Humanities and Social Sciences.
______. (2008). Sangkhomwitthayā chonnabot nǣokhit thāng thritsadī læ nǣonōm
nai sangkhom . 1st Edition. Bangkok, Thailand: Expernet.




Theses:

Duangbung, S. (2007). Dontrī phithīkam khō̜ng chāo phū thai nai tambon nōn yāng
ʻamphœ̄ nǭng sūng čhangwat Mukdāhān. Master Thesis (Thai
Language). Bangkok, Thailand: Kasetsart University.
Itdhiphol, A. (2014). Watjanakham rīakkhwan nai phithīkammaraksā rōk khō̜ng
mǭ yao chāo Phūthai. Ph.D. Dissertation (Thai Language).
Bangkok, Thailand: Kasetsart University.
Klongdee, M. (2009). Kānsưksā rūpbǣp kānsāng khrư̄akhāi khwāmkhēmkhæng
thāng sangkhom dūai phithīkam yao khō̜ng chāo Phūthai
čhangwat Mukdāhān . Master Thesis (Cultural Sciences). Maha
Sarakham, Thailand: Maha Sarakham University.
Michai, A. (2008). Phithī yao kō̜ranī dontrī thī chai banlēng prakǭp phithī yao phư̄a
raksā ʻākān čheppūai khō̜ng chāo Phūthai mūbān nǭng mek
tambon pā rai ʻamphœ̄ dǭn tān čhangwat Mukdāhān. Master
Thesis (Ethnomusicology).Bangkok, Thailand: Srinakarinwirot
University.
Nakornchai, P. (1995) . Phithīkam yao khō̜ng chāo Phūthai tambon nōn yāng
ʻamphœ̄ nǭng sūng čhangwat Mukdāhān. Master Thesis (Thai
Studies). Maha Sarakham, Thailand: Maha Sarakham Univer-
sity.
Pansahapanich, T. (2002). Botbāt sattrī chāo Phūthai nai phithīkam yao tambon
pā rai ʻamphœ̄ dǭn tān čhangwat Mukdāhān. Independent Study
(Thai Studies). Maha Sarakham, Thailand: Maha Sarakham
University.
Pasuta, K. (2015). ). Kān khūapkhum thāng sangkhom khō̜ng klum mǭlam phīfā
nai kānčhatkān panhā radap khrō̜pkhrūa nai sangkhom phāk
tawanʻǭk chīang nư̄a prathēt Thai. Ph.D. Dissertation (Socio-
logy). Khon Kaen, Thailand: Khon Kaen University.
Shinboot, S. (2010). Kānsưksā rūpbǣp kānsāng khrư̄akhāi khwāmkhēmkhæng
thāng sangkhom dūai phithīkam yao khō̜ng chāo Phūthai
čhangwat Mukdāhān. Ph.D. Dissertation (Arts). Bangkok,
Thailand: Chulalongkorn University.
Sitthikriangkrai, M. (1997). Mǭ yao: phū raksā phư̄nbān nai chumchon chāo
Phūthai.Master Thesis (Social Sciences). Bangkok, Thailand:
Mahidol University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-12-2018