แนวคิดเรื่องความสุขในผญาภาษิต

ผู้แต่ง

  • Jarunee Wonglakorn

คำสำคัญ:

ความสุข, ผญาภาษิต, อีสาน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ผญาภาษิตหรือภาษิตอีสานเพื่อค้นหาแนวคิดเรื่องความสุขโดยใช้ “ปัจจัยสำคัญทั้ง 7” ที่มีผลต่อความสุข ตามแนวคิดของริชาร์ด เลยาร์ด มาเป็นกรอบการวิเคราะห์และตีความ พบว่าผญาภาษิตกล่าวถึงความสุขว่าหมายถึงการเป็นอยู่ที่ดี คือ การมีความสุขทางกายและมีจิตใจเบิกบาน อันเกิดจากปัจจัยสำคัญที่สุด ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สถานการณ์ทางการเงิน และค่านิยมส่วนบุคคลหรือปรัชญาชีวิต

สิ่งที่น่าสนใจในการศึกษานี้คือการพบว่าวิถีการดำเนินชีวิตของคนอีสานที่ปรากฏในผญาภาษิตเป็นกระบวนการแก้ปัญหาความทุกข์มากกว่าการมุ่งหาความสุข ชีวิตที่มีความสุขเป็นผลพลอยได้จากการทำให้ความทุกข์คลายลง นอกจากนี้ ยังพบว่านักคิดจากสองสังคมคือสังคมชาวนาอีสานซึ่งยากจนกับสังคมอุตสาหกรรมของประเทศร่ำรวย ที่ต่างกันทั้งมิติด้านเวลาและวัฒนธรรม แต่เห็นตรงกันว่า “เงิน” เป็นปัจจัยช่วยให้คลายทุกข์แต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ถ้าต้องการความสุขก็ต้องมีปัจจัยอื่นที่สำคัญ นั่นคือ มีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและมีปรัชญาชีวิตหรือมีค่านิยมที่ดี แล้วยังจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นเสริมด้วย ได้แก่ การทำงานที่มีคุณค่า การมีสังคมและเพื่อนฝูง มีสุขภาพดี มีอิสระในชีวิต

References

คำพูน บุญทวี. (2528). ลูกอีสาน. กรุงเทพ: บรรณกิจ.
คำหมาน คนไค. (2539). ผญา: ภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช.
จารุณี วงศ์ละคร. (2549). ปรัชญาวัฒนธรรมและวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จารุณี วงศ์ละคร. (2555). แนวคิดเรื่องความสุขในผญาภาษิต. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2526). ผญาบทกวีของชาวบ้าน. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์จินตภัณฑ์.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (ม.ป.ป.). คติชาวบ้านอีสาน. ม.ป.พ.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2531). การศึกษาเชิงวิจารณ์หลักมหสุขของ จอห์น สจ๊วต มิลล์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เบน-ชาฮาร์, ทาล. (2007). Happier. เปิดห้องเรียนวิชาความสุข. แปลโดย พรเลิศ อิฐฐ์. กรุงเทพ:
วีเลิร์น.
ปรีชา พิณทอง. (2528). ไขภาษิตโบราณอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์สิริธรรม.
ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ Isan-Thai-English Dictionary. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์สิริธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต ). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาส อินทปัญโญ. (2538). ธัมมิกสังคมนิยม(DHAMMIC SOCIALISM). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สยามประเทศ.
พุทธทาส อินทปัญโญ. (2549 ข). หมดทุกข์ก็พบสุข. กรุงเทพฯ: ไพลิน.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: โอเอส
พรินติ้งเฮาส์.
มอร์, โธมัส. (2551). ยูโทเปีย Utopia. แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สมมติ.
มาร์คส์, นิก และคนอื่น. (2552). ดัชนีโลกไม่มีสุข The Unhappy Planet Index. แปลโดย เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
ริการ์, มาติเยอ. (2551). ความสุข: คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด. แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
เลยาร์ด, ริชาร์ด. (2550). ความสุข: หลากหลายข้อค้นพบของศาสตร์ใหม่แห่งความสุข. แปลโดย รักดี โชติจินดา และ เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
ศุภมิตร เขมาลีลากุล. (2541). ศึกษาเชิงวิจารณ์แนวคิดเรื่องยูแดโมเนีย(Eudaimonia) ของอริสโตเติล.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุระ อุณวงศ์. (2553). ผญา. อุบลราชธานี: บริษัท ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
สำลี รักสุทธี. (2551). ผญา ปรัชญาการดำเนินชีวิตอันล้ำค่าของชาวอีสาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
Bentham, Jeremy. (1964). Approaches to Ethics. London: Oxford University.
Layard, Richard. (2003). Happiness: Has a Social Science A Clue. Lionel Robbins Memorial Lectures on 3, 4, 5 March 2003. at the London School of Economics.
Layard, Richard. (2011). Happiness: Lessons From A New Science. 2nd ed. London: Penguin Books.
https://cep.lse.ac.uk/events/lectures/layard/RL030303.pdf
https://cep.lse.ac.uk/textonly_new/staff/layard/pdf/Layard25
https://www.oknation.net/blog
Magill, Frank N., and Staff. Masterpieces of World Philosophy in Summary Form. New York: Harper and Row, 1961.
Mill, John Stuart. “Utilitarianism” in A.I Keldon(ed.) Ethical Theories: A Book of readings. Pp.391-434. 2nd ed.; New Jersey: Prentice-Hall, 1976.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2018