สัญลักษณ์ปลาในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • Plerngsuriyadheva Ramangkura Na Kotapura Chiang Mai University

คำสำคัญ:

สัญลักษณ์, ปลา, พุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

ปลาเป็นสัตว์เดียรัจฉานที่ปรากฏอยู่ในฐานะสัตว์ที่มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของมนุษย์ ความเชื่อในลักษณะนี้ปรากฏในเรื่องเล่าพื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง ตำนานปรัมปรา เทพนิยาย หรือในวรรณคดีของยุคสมัยต่างๆ ศิลปกรรมแขนงต่างๆ รวมทั้งปรากฏอยู่ในงานวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วย และความเชื่อเรื่องปลานี้ยังปรากฏอยู่ทั่วโลกแทบทุกวัฒนธรรมทั้งฝ่ายตะวันตกและตะวันออก

ปลาในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้น ถูกนำเสนอบทบาททั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม และถูกนำเสนอทั้งในเชิงชีวภาพ เชิงกายภาพ ที่สำคัญคือการกล่าวถึงปลาโดยใช้เป็นสิ่งอุปมาอุปไมยสื่อถึงหลักธรรมทางศาสนา ทั้งในเชิงบุคลาธิษฐาน และในเชิงธรรมาธิษฐาน นอกจากนี้ยังพบว่า ปลากลายเป็นสัญลักษณ์ของความคิด ความเชื่อทางนามธรรมในวัฒนธรรมของมนุษย์ เป็นตัวแทนของการถ่ายทอดพลังแห่งความต้องการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ เป็นตัวแทนของน้ำและการทำลายความแห้งแล้งอดอยาก เป็นอาหารและวัตถุอย่างหนึ่งที่ถูกใช้บริโภคโดยสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เป็นทรัพย์สินมีค่า เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความสำเร็จทั้งทางกายภาพและทางจิต เป็นสัญลักษณ์ของการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์ของกิเลสตัณหา ราคะ ความอยาก กามคุณ ความโลเล ความโลภ ความขัดแย้ง ความชั่วร้ายและอำนาจฝ่ายต่ำ โดยมีความสัมพันธ์กับอบายภูมิและความทุกข์ของสัตว์ในนรก เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายในสตรีเพศ เป็นสัญลักษณ์ของสติ การปฏิบัติธรรม ความหยั่งรู้หรือ พุทธิปัญญา วิมุติธรรม และความสามัคคี และปลายังเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์

References

กรมศิลปากร. พุทฺธปาทลกฺขณ และรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย. ม.ป.ท. : กองพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมศิลปากร. (2540). หนังสือที่ระลึกงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เรื่อง นิบาตชาดก เล่ม 1.
กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. ( 2539).มิลินทปัญหา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ไตรภูมิพระร่วง. (2515). พระญาลิไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). พระนคร : คลังวิทยา.
ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบสัญลักษณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สิปประภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 10).
กรุงเทพฯ : เอส. อาร์. พรินติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร))
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.
พินิจ รักษ์ทองหล่อง. (2549).100 ปี พุทธทาส. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2530).พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล. กรุงเทพฯ : เฉลิมชาญ,
องค์การกีเดี้ยนส์อินเตอร์เนชันแนล. (ม.ป.ป.) พระคริสตธรรมใหม่. กรุงเทพฯ : องค์การกีเดี้ยนส์
อินเตอร์เนชันแนลแห่งประเทศไทย.
Cavendish, Richard. (1995). Man Myth & Magic V.1-20. New York : Marshall Cavendish.
Clayton, Peter. (1994). Great Figures of Mythology. New Jersey : Grescent Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2018