ฆราวาสธรรมในคัมภีร์ล้านนา เรื่อง แปดแล้งออกยอด

ผู้แต่ง

  • พระมหารุ่งวิกรัย ตากล้า Chiang Mai University

คำสำคัญ:

ฆราวาสธรรม, คัมภีร์ล้านนา, แปดแล้งออกยอด, พุทธศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ฆราวาสธรรมในคัมภีร์ล้านนาเรื่อง“แปดแล้งออกยอด”  โดยวิเคราะห์บทบาทฆราวาสธรรมที่มีในตัวละครซึ่งสื่อถึงการใช้หลักธรรม เป็นการศึกษาวิจัยข้อมูลเชิงเอกสาร โดยใช้คัมภีร์ล้านนา แปดแล้งออกยอด ฉบับของวัดศรีสุวรรณ ต.เมืองพาน อ. พาน จ. เชียงราย รหัสไมโครฟิล์ม 82. 116. 01D. 005-011 จำนวน 7 ผูก มี 90 หน้า นำมาวิเคราะห์สอบทานกับหลักฆราวาสธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

ผลการการศึกษาพบว่า หลักฆราวาสธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ล้านนา เรื่อง “แปดแล้งออกยอด” ซึ่งผู้แต่งไม่ได้แต่งเป็นคำสอนแบบตรงเป็นข้อตามหลักธรรมของฆราวาสธรรม แต่ผู้แต่งได้แทรกหลักธรรมในเนื้อหาคัมภีร์อันเป็นนัยของหลักธรรม โดยกล่าวถึงชีวิต 3 ครอบครัว คือ (1) ครอบครัวของโชติระเศรษฐีกับนางอโนชา(2) ครอบครัวของทุคคตะกับนางอโนชา และ(3)ครอบครัวของโชติระเศรษฐีกับภรรยาใหม่ กล่าวคือ ครอบครัวโชติระเศรษฐีกับนางอโนชาและครอบครัวโชติระเศรษฐีกับภรรยาใหม่ เป็นครอบครัวที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ทำให้ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงเป็นคนขอทาน ส่วนครอบครัวทุคคตะกับนางอโนชา เป็นครอบครัวที่ได้ปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ทำให้ชีวิตที่ทุกข์ลำบากเปลี่ยนแปลงเป็นคนมั่งมี มีความสุขได้เป็นพระราชาและมเหสี ปกครองเมืองพาราณสี การใช้ชีวิตครองเรือนไม่ใช่มีเพียงหลักฆราวาสธรรมเท่านั้น แต่ยังมีหลักธรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง  เช่น ศีล 5, ตัณหา 3, จักร4, อิทธิบาท4 , ประเภทสามีภรรยา 7 ประเภท, ทิศ 6, สังคหวัตถุ 4, สมชีวิธรรม, กุลจิรัฏฐิติธรรม, ทิฎฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม,  อบายมุข 6 เป็นต้น หลักธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้แต่งได้เน้นการสอนวิถีชีวิตครองเรือนซึ่งเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างโชติระเศรษฐีกับทุคคตะ  การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องในทางโลกิยะเป็นหลักให้สามารถเข้าถึงระดับโลกุตตระได้ เพราะบทสรุปท้ายเรื่อง “แปดแล้งออกยอด” ทุคคตะได้เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าในชาติปัจจุบัน

คัมภีร์ล้านนา เรื่อง “แปดแล้งออกยอด”  ผู้แต่งใช้ภาษาเรียบง่าย เข้าใจง่าย ไม่สับสน อีกทั้งได้สะท้อนสังคมล้านนาในสมัยอดีต จึงเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากเรื่องหนึ่งในฐานะที่เป็นภูมิปัญญาของพระเถระล้านนาที่เราควรยกย่องและเผยแผ่คำสอนอันดีงามของท่านอันจะเป็นสื่อการสอนแก่สถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคงพัฒนาสังคมโดยส่วนร่วมต่อไป

References

ปิ่น มุทุกันต์ . (2514). แนวสอนธรรมะ ตามหลักสูตรนักธรรมตรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง .

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2522) .ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย จำกัด.

มณี พยอมยงค์ . (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ :

ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยลัย. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ภาษาไทย พระสูตรและ

อรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2540) .มหาวํโส ปฐโม ภาโค. กรุงเทพฯ : วิญญาณ.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2543).พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ชุดภาษาไทย (Budsir/TT for

windows). กรุงเทพฯ : สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล,

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์

พับลิเคชั่นส์, 2546.

สมเจตน์ วิมลเกษม. (ม.ป.ป.) .หลักสูตรภาษาล้านนา. เชียงใหม่ : หจก.เจริญวัฒน์การ

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542).วรรณกรรมล้านนา. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัมพวรรณ สุริยะไชย. (2546). การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง สุพรหมโมกขะหมาเก้าหาง. วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2018