พุทธวิธีสร้างกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมสายวัดป่าของไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมร อาวุธปญฺโญ Chiang Mai University

คำสำคัญ:

พุทธวิธี, กำลังใจ, ผู้ปฏิบัติธรรม, พระป่า

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องพุทธวิธีสร้างกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมสายวัดป่าของไทยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการสร้างกำลังใจตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา  (2) เพื่อวิเคราะห์การสร้างกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติสายพระป่าของไทย

            ผลการวิจัยทางทฤษฎีและตำราพบว่า กำลังใจ คือ แรงกระตุ้นที่ทำให้จิตใจมีกำลัง ทำให้สามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามความมุ่งหวังได้ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาเรียกว่า แรงจูงใจ  (Motive)  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน มีความสอดคล้องกันกับ กำลังใจในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีที่เกิด 2 ส่วนคือ กำลังใจจากอิทธิพลภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ และกำลังใจจากอิทธิพลภายนอก ได้แก่ กัลยาณมิตร  ในวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาธรรมที่เป็นกำลังใจภายใน ได้แก่ ธรรมะในหมวดอินทรีย์ 5 พละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะ ความเพียร สติ ความระลึกได้ สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งใจ ปัญญา ความรู้ทั่ว โดยมีพุทธวิธีในการสร้าง ได้แก่ 1) การยกอุทาหรณ์ 2) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา 3) การใช้อุปกรณ์การสอน 4) การทำเป็นตัวอย่าง 5) แสดงปาฏิหาริย์

ส่วนกระบวนการสร้างกำลังใจของสำนักปฏิบัติธรรมสายพระป่าของไทยพบว่า มีวิธีการ 5 ประการคือ 1) ปรึกษาครูบาอาจารย์ 2) ศึกษาและสังเกตข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ 3) ปรึกษาเพื่อนสหธรรมิก 4) ปรึกษาอุบาสกอุบาสิกาผู้มีคุณธรรม 5) ศึกษาจากตำราชีวประวัติของครูบาอาจารย์ จากการวิเคราะห์พบว่า ทั้งทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยา กำลังใจในทางพระพุทธศาสนา พุทธวิธีในการสร้างกำลังใจในสมัยพุทธกาล และกระบวนการสร้างกำลังใจของพระป่าของไทยมีความสอดคล้องกัน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆสเถระ. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค, แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2538). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก จำกัด.
พระมหาบัว ญาณสปฺปนฺโน. (2532). ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทตฺโต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ประจวบ แสนกลาง. (2531). บทบาทของพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่มีต่อสังคมอีสานเหนือ
: ศึกษา กรณีสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต พ.ศ. 2436 - 2529. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ; ไม่ได้ตีพิมพ์. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กุศล (แส่ว) กุสลจิตฺโต. (2556). แดนคือธรรมที่ใจรู้ (รวมชุดอธิบายธรรมะในทรรศนะหลวงปู่มั่น
ภูริทตฺโต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2018