แนวคิดความยุติธรรมเชิงสังคมของ ฌอง-ปอล ซารตร์

ผู้แต่ง

  • ชุษณะ ปิ่นเงิน Chiang Mai University

คำสำคัญ:

ซารตร์, อัตถิภาวนิยม, จริยศาสตร์, ความยุติธรรม, อัตวิสัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในหลักความยุติธรรมของ ฌอง-ปอล ซารตร์ และการนำแนวคิดดังกล่าวมาสร้างเป็นสังคมในอุดมคติ เป็นการศึกษาในกรอบของ (1) สิ่งที่ดีในขอบเขตทางจริยศาสตร์และ (2) การกระจายสิ่งที่ดีดังกล่าวเข้าสู่สังคมได้อย่างทั่วถึง เนื้อหาการศึกษาเป็นการวิเคราะห์งานทางภววิทยาและงานทางสังคมวิทยาเพื่อให้เกิดข้อสรุปถึงลักษณะของความดีและเงื่อนไขประกอบสิ่งที่เรียกว่าดีนั้น แล้วนำข้อสรุปดังกล่าวมาอธิบายเป้าหมายและวิธีการเพื่อมุ่งสู่สังคมที่ยุติธรรมภายใต้อุดมคติของเขารวมไปถึงบทบาทของรัฐและประชาชนที่มีต่อสังคมของตน โดยวิธีการวิจัยเอกสาร รวบรวม เรียบเรียง และนำมาวิเคราะห์ พบว่าสิ่งดีในทางสังคมคือประชาชนมีความเป็นของแท้และดำเนินชีวิตตามทางเลือกอิสระที่เป็นของตนเอง ภายใต้กลไกกลุ่มจัดตั้งอิสระทางสังคมโดยรัฐมีบทบาทหน้าที่ต่อการจัดสรรทรัพยากรทางสังคมเท่าที่จำเป็นต่อการพัฒนาบุคคล

References

กุลภา วจนสาระ. (2555). มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 ประชากรและสังคม 2555 ประชากรชายขอบและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย (น. 17-36) นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
Catalano. J. S. (1986). A Commentary on Jean-Paul Sartre’s Critique of Dialectical.
London: Chicago Press.
Cox, G. (2008). The Sartre Dictionary. New York: Continuum.
Detmer, D. (1988). Freedom As A Value. Chicago: Open Court.
Flynn, T. R. (1986). Sartre and Marxist existentialism. Chicago: Chicago Press.
Kulka, J. (Ed.). (2007). Existentialism Is a Humanism/Jean-Paul Sartre (C. Macomber, Trans.). London: Yale University Press. (Original work published 1947, 1996)
Nozick, R. (1974). Anarchy, State and Utopia (1st, ed.). N.P.: Basic Books.
Rawls, J. (1999). A Theory of Justice (Rev. ed.). Cambridge: Belknap Harvard..
_______. (2003). Justice as Fairness (E. Kelly, Edit). USA: Belknap Harvard.
Sartre, J.P. (1968). Search for Method (H.E. Barnes, Trans.). New York: Vintage Book. (Original work published 1960)
________. (1992). Being and Nothingness (H.E. Barnes, Trans.). New York: Washington Square Press. (Original work published 1942/1952)
________. (2004). Critique of Dialectical Reason, Volume One (Revised edition) (A.S. Smith, Trans. J. Rée, Edit). New York: Verso. (Original work published 1960)
________. (2008). Between Existentialism and Marxism (J. Matthews, Trans.). New York: Seagull Books. (Original work published 1972/1974)
Schilpp, P. A. (Ed.). (1997). The Philosophy of Jean-Paul Sartre. USA: Open Court.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2018