แนวคิดเรื่องความรักของสัตยา ไส บาบา

ผู้แต่ง

  • สุวพิชญ์ ชื่นชม Chiang Mai University

คำสำคัญ:

ความรัก, สัตยา ไส บาบา

บทคัดย่อ

ตามทรรศนะของสัตยา ไส บาบา ความรักตรงกับคำในภาษาสันกฤตว่า Prema อันเป็นความรักแท้ที่บริสุทธิ์ สถิตอยู่ในจิตใจของทุกคน เป็นความเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่นโดยไม่มีความเห็นแก่ตัวซ่อนเร้น มีความมั่นคง แผ่ขยายไปอย่างไม่จำกัดอย่างไม่มีขอบเขต และสัตยา ไส บาบา ก็เป็นสัญลักษณ์ของความรักบริสุทธิ์ที่มาในรูปร่างมนุษย์ สำหรับลักษณะของความรักนั้น มีสองลักษณะด้วยกันคือ หนึ่งความรักคือพระเจ้า เป็นการอธิบายความรักในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ และสองความรักคือความภักดี หรือ ภักติเป็นการอธิบายในฐานะเป็นคุณสมบัติสำคัญยิ่งของผู้ภักดีในพระเจ้า  ซึ่งต้องมีความรักอย่างมั่นคง เพื่อเดินตามทางแห่งภักติไปสู่การตระหนักรู้ถึงอาตมันภายใน และอาตมันก็คือพรหมัน คือพระเจ้า

การเข้าถึงความรักของสัตยา ไส บาบา สามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติฝึกฝนทางจิตวิญญาณ อันประกอบไปด้วย การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทั้ง 4 คือ สัตยะ ธรรมะ สันติ และ   เปรมะ การทำงานและการบริการผู้อื่น การรับฟังเรื่องราวของพระเจ้า และเรื่องราวของผู้ภักดี และการร้องเพลงภชัน การสนทนากับผู้รู้ การแสวงหาแต่เพื่อนที่ดี และหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชั่ว และการทำสมาธิด้วยการท่องพระนามของพระเจ้าซ้ำไปมา จดจำพระนามของพระองค์ และการนั่งสมาธิ

แนวคิดเรื่องความรัก และการเข้าถึงความรักของสัตยา ไส บาบา เป็นการปฏิบัติที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี โดยที่ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องออกจากสังคมเพื่อไปทำสมาธิเพื่อพบพระเจ้า และความรักนี้เพื่อคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ และทุกเชื้อชาติ ถือได้ว่าเป็นความรักสากลอย่างแท้จริง และผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของท่านสัตยา ไส บาบา แล้ว จะสามารถค้นพบความรัก ค้นพบพระเจ้าในตัวเอง นำตนสู่ความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

References

กฤษณะไทวปายนวยาส. (2551). ศรีมัทภควัทคีตาหรือเพลงแห่งชีวิต (แสง มนวิทูร, ผู้แปล).
กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. (2550). ภารตวิทยา. กรุงเทพฯ: ศยาม.
เขมานันทะ. (2521). ชีวิตกับความรัก. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซนเตอร์การพิมพ์.
โจเวตต์, เบนจามิน. (2543). ปรัชญาความรัก Symposium (พินิจ รัตนกุล,ผู้แปล). กรุงเทพฯ:
ดับเบิ้ลนายน์.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2550). ปรัชญาศาสนาประยุกต์. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2551). กฤษณะไทวปายนวยาส ศรีมัทภควัทคีตา. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
เฉลิม พงศ์อาจารย์. (2523). ประวัติศาสตร์อินเดีย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.
ชัชวาลย์ ชำนาญ. (2550). การบริหารงานบุคคล เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนสัตยาไส จังหวัด
ลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ไชย ณ พล. (2538). จิตวิทยาแห่งความรัก หลักการเลือกคู่ การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และการอยู่คนเดียว
อย่างล้ำค่า.ม.ป.ท : พลัสเพรส.
ดีวาน, สีมา เอ็ม. (2011), ไสดารชัน [Sai Darshan] (Subhaporn Jareonsettasin, ผู้แปล). กรุงเทพฯ:
สหธรรมิก.
เดือน คำดี. (2522). ปรัชญาตะวันตกจากยุคโบราณถึงปัจจุบัน.กรุงเทพฯ : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รชฎ พรหมพินิจ. (2545). การศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ เรื่องความรักในบทนิพนธ์ซิมโพเซียมของพลา
โต. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รพินทรนาถ ฐากูร. (2532). สาธนาปรัชญานิพนธ์ (ระวี ภาวิไล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ดอกไม้.
รามามูรตี, เอ็ช. และ กานาปาติ, รา. (มปป.). ไสบาบา มนุษย์มหัศจรรย์ (เล่ม5-7) (ศิริ พุทธศุกร์, ผู้แปล).
กรุงเทพฯ: สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ.1981)
รุ่งเรือง บุญโญรส. (2529). อุปนิษัท. เชียงใหม่: พุทธนิคม.
วาริน เทพยายน. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ ความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับ
รูปแบบความรักของคู่รัก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ศักยาภินันท์. (2549). ศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิทยากร เชียงกูล. (2550). ความรัก การสร้างสรรค์ และความสุข. กรุงเทพฯ : สายธาร.
ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. (2545). ประวัติศาตร์ภูมิปัญญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศกุลตลา บาลู. (2527). องค์พระผู้เมตตา. กรุงเทพฯ: วิญญาณ.
ศูนย์สัตยา ไสบาบาเชียงใหม่. “เอกสารประกอบการสวดภชันของศูนย์สัตยา ไสบาบาเชียงใหม่ วันที่ 9
พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19.00 – 21.00 น.”
สมัคร บุราวาศ. (2554). ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สมาคมพระคริสตธรรมในประเทศไทย. (2514). พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม. กรุงเทพฯ:
นิยมศิลป์อ๊อฟเซ็ทการพิมพ์.
สันตินา, ปีเตอร์ เดล่า. (2555). ศาสนาแห่งอินเดีย (สมหวัง แก้วสุฟอง,ผู้แปล).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา.
ไส บาบา. (2527). ศรี สัตยา ไสราชัน. กรุงเทพฯ : สยามศึกษา.
ไส บาบา. (2528). โอวาท องค์สัตยา ไส. สัตยาไส สาส์น. 1(5), น.14-19.
เสถียร พันธรังสี. (2549). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2537). ความรักและสันติภาพ: รวมปาฐกถาด้านศาสนา และจริยธรรมใน
สังคมไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุจิตรา รณรื่น. (2529). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
สุนทร ณ รังษี. (2545). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ เมธาวิทยกูล. (2532). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมภาร พรมทา. (2542). ภัควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควัน). กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
สมหวัง แก้วสุฟอง. (2543). นำเที่ยวศาสนา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สาลศานต.
หิริยันนะ, เอ็ม. (2531). สารัตถะปรัชญาอินเดีย (สุขุม ศรีบุรินทร์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2532). ปรัชญาอินเดียร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2546). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2528). เซวาดาลกับคุณค่าของความเป็นมนุษย์. สัตยาไส สาส์น. 1(5), น.24-31.
อาร์มสตรอง, จอห์น. (2552). ความลับในความรัก Condition Of Love : The Philosophy of Intimacy
(จิระนันท์ พิตรปรีชา,ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม.
อิสลอบ, จอห์น เอส. (2527). สนทนากับไส บาบา มนุษย์มหัศจรรย์ (ธรณี ศิริโสภณ,ผู้แปล). กรุงเทพฯ:
ปัญญาชน.
อิสลอพ, จอห์น เอส. (2544). พบแสงสว่าง (มูลนิธิสัตยาไส เชียงราย, เรียบเรียง).กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
อิสลอบ, จอห์น เอส. (มปป.) สนทนากับไสบาบา มนุษย์มหัศจรรย์ (ธรณี ศิริโสภณ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
อุทัย สินธุสาร. (2542). ภควัทคีตา. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.
เฮอร์มาน, เอ.แอล. (2554). ศาสนา ปรัชญา และความหลุดพ้น (สมหวัง แก้วสุฟอง,ผู้แปล). เชียงใหม่ :
สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (1974). Summer Showers in Brindavan 1973. Bombay:
Sri Sathya Sai Education Foundation.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (1975). Sathya Sai Speakes Volume III (N.Kasturi, Compiled
from Notes Taken) (Third edition). New Delhi: Sri Sathya Sai Education &
Publication Foundation.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002a). Prema Vahini (The Stream of Divine Love) Vahini
Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002b). Sathya Sai Vahini (Spiritual Message of Sri Sathya
Sai) Vahini Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications
trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002c). Jnana Vahini (The Stream of Eternal Wisdom) Vahini
Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002d). Geeta Vahini (The Divine Gospel) Vahini Series.
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002e). Prashanthi Vahini (The Supreme Bliss of the Divine).
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002f). Prasnottara Vahini (Answers to Spiritual Questions).
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002g). Jnana Vahini (The Stream of Eternal Wisdom).
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002h). Leela Kaivalya Vahini (The Cosmic Play of God).
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002i). Sutra Vahini (Analytical Aphorism on Supreme
Reality). Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002j). Vidya Vahini – (Flow of Spiritual Education on
Supreme Reality). Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books &
Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002k). Upanishad Vahini (Essence of Vedic Knowledg).
Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002l). Ramakatha Rasa Vahini, Part - I (The Sweet Story of
Rama’s Glory) Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2002m). Ramakatha Rasa Vahini, Part - II (The Sweet Story
of Rama’s Glory) Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications
trust Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2003a). Dharma Vahini (The Path of Virtue
and Morality) Vahini Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books
& Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (2003b). Dhyana Vahini (The Practice of Meditation) Vahini
Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (n.d.1). Bhagavatha Vahini (The story of the Glory of the
Lord) Vahini Series. Anantapur: The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications
trust.
Bhagawan Sri Sathya Sai Baba. (n.d.2). Sandeha Nivarini (Clearance of Spiritual Doubts).
Anantapur:The Convener, Sri Sathya Sai books & Publications trust.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2018