แนวคิดพุทธจักรวาลวิทยาในการวางผังวัดอินทราวาส อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
จักรวาลวิทยา, พุทธจักรวาลวิทยา, พุทธจักรวาลคติ, การวางผังวัดบทคัดย่อ
แนวคิดพุทธจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในการวางผังวัดอินทราวาส อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มิได้เน้นแนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลคติในการวางผังวัดดังเช่นวัดหลวง เนื่องจากการวางรูปแบบอาคารต่างๆของวัดในบางส่วนมิได้ถูกจัดวางตำแหน่งทิศทางให้สอดคล้องกับรูปแบบ พุทธจักรวาลคติในการวางผังวัดโดยทั่วไป หรือรูปแบบเฉพาะของพุทธจักรวาลคติในการวางผังวัดล้านนาแต่อย่างใด แนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในการวางผังวัดไม่ครอบคลุมความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างของพุทธจักรวาลวิทยาทั้งหมด เนื่องจากมีองค์ประกอบของวัดบางส่วนที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยา อีกทั้งไม่สามารถแทนค่าสัญลักษณ์ตามแนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาได้อย่างชัดเจน เพราะจากการศึกษาแนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาของผู้วิจัยและการสัมภาษณ์ปราชญ์เชิงลึกทางพระพุทธศาสนา สามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปแทนค่าองค์ประกอบของวัดได้หลายอย่างด้วยกัน อาทิ ระเบียงคดรอบพระวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาสามารถแทนสัญลักษณ์เป็นเสมือนกำแพงจักรวาล หากแทนพระวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาเป็นเขาพระสุเมรุ ในขณะเดียวกัน ระเบียงคดรอบพระวิหารทรงพื้นเมืองล้านนายังสามารถแทนค่าเป็นทวีปใหญ่ทั้ง 4 ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุได้ อีกด้วย แต่ในทางกลับกันก็อาจไม่สามารถแทนค่าระเบียงคดของวัดอินทราวาสเป็นทวีปใหญ่ทั้ง 4 อันได้แก่ ชมพูทวีปที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ อปรโคยานทวีปที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก อุตตรกุรุทวีปที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และปุพพวิเทหทวีปที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากขาดระเบียงคดทางด้านทิศตะวันออก
เมื่อวิเคราะห์โดยภาพรวม การวางผังวัดอินทราวาส เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่า ใช้แนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาโดยตรง และเมื่อการวางผังวัดไม่เป็นไปตามแนวคิดเรื่องพุทธจักรวาลวิทยาได้อย่างชัดเจน ผู้วิจัยมีทัศนะว่าวัดอินทราวาสอาจจะใช้คติพระรัตนตรัยในการวางผังวัดตามแบบอย่างของล้านนาที่แสดงให้เห็นถึงความหมายในเชิงสัญลักษณ์ขององค์ประกอบในวัด
References
พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เนื่องในงานมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2550). พุทธจักรวาลวิทยา. กรุงเทพฯ:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษารูปแบบวิหารทรงปราสาทในเขต
ภาคเหนือ. เชียงใหม่: ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2544). วิหารล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่. (2535). วัดสำคัญของนครเชียงใหม่.
เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2543). วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุ เนินหาด. (2545). 100 ปี อำเภอหางดง. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
สัมภาษณ์
คุณตวง ค้าขาย ผู้ดูแลวัดอินทราวาส อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่, 13 มีนาคม 2558
พระจันทร์ จกฺกวโร เจ้าอาวาสวัดอินทราวาส อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่, 12 มีนาคม 2558
พระอดุลสีลกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่, 16 มีนาคม 2558
อาจารย์สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 17 มีนาคม 2558
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th